การศึกษาและพัฒนาแผ่นกาวดักจับแมลงวันริ้นควาย

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

อาระดิน สีสุระ, ภัทรนิษฐ์ เสนาวงศ์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

วีรยุทธ ทองแดง

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนกัลยาณวัตร

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2564

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การศึกษาและพัฒนาแผ่นกาวดักจับแมลงวันริ้นควาย มีจุดประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาปัจจัยพฤติกรรมของแมลงวันริ้นควาย เพื่อประดิษฐ์แผ่นกาวดักจับแมลงวันริ้นควาย มีกระบวนการดังนี้คือ 1)ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของแมลงวันริ้นควาย และศึกษาพฤติกรรมการไล่แมลงวันของวัว 2)พัฒนาแผ่นกาวดักจับแมลงวันริ้นควาย 3)ศึกษาพฤติกรรมการตอบสนองของแมลงวันริ้นควายที่มีต่อ กลิ่น และสี 4)ศึกษาประสิทธิภาพของแผ่นกาวที่พัฒนาขึ้นกับแผ่นกาวที่ขายตามท้องตลาด จากการทดลองจะพบแมลงวันริ้นควายในช่วงเวลา 17.00 – 08.30 น. อุณหภูมิ 24±7 องศาเซลเซียส ความชื้น 53.67±7.76% มากกว่าช่วงเวลา 08.30 – 17.00 น. อุณหภูมิ 20±6 องศาเซลเซียส ความชื้น 71.33±8.65% พฤติกรรมที่วัวใช้ในการไล่แมลงวันมากที่สุด ได้แก่ การสะบัดหาง คิดเป็นร้อยละ46.67 การกระตุกผิวหนัง คิดเป็นร้อยละ33.33 การกระทืบเท้า คิดเป็นร้อยละ13.33 และพฤติกรรมที่วัวใช้ในไล่แมลงวันน้อยที่สุด ได้แก่ การแกว่งหัว คิดเป็นร้อยละ 6.67 และเนื้อของกระดาษที่ใช้เวลาต้ม 90 นาที จะมีความละเอียดมากกว่ากระดาษที่ใช้เวลาต้ม 30 นาที และ 60 นาที ส่วนความหนาของกระดาษและการทนต่อแรงดึง กระดาษที่ใช้เวลาต้ม 60 นาที จะมีความหนามากกว่า และทนต่อแรงดึงมากกว่ากระดาษที่ใช้เวลาต้ม 30 นาที และ 90 นาที

จากการศึกษาพบว่าจะพบแมลงวันริ้นควายมากในช่วงเวลา 17.00 – 08.30 น. อุณหภูมิ 24±7 องศาเซลเซียส ความชื้น 53.67±7.76% พฤติกรรมที่วัวใช้ในการไล่แมลงวันมากที่สุด คือ การสะบัดหาง ร้อยละ46.67 และระยะเวลาการต้มหญ้าให้เป็นกระดาษที่เหมาะสมที่สุด คือ 60 นาที ซึ่งมีลักษณะเนื้อเยื่อละเอียดพอดี มีความหนามากที่สุด และทนต่อแรงดึงมากที่สุด โดยเฉลี่ย 13.33±3.82 นิวตัน