ประสิทธิภาพของสารเคอร์คูมินจากสารสกัดไพล ขิง และกะทือ ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus และ Escherichia coli

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พงศ์พิพัฒน์ มีแก้ว, สิราวรรณ ขันนุ้ย, สุทธิกานต์ มันทุ่ย

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

กัณฐาภรณ์ คงอินทร์, จุฬาลักษณ์ ตุลยกุล

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิเชียรมาตุ

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2564

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงาน เรื่อง ประสิทธิภาพของสารเคอร์คูมินจากสารสกัดไพล ขิง และกะทือ ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus และ Escherichia coli (Efficiency of Curcumin from Zingiber cassumunar, Zingiber officinale and Zingiber zerumbet against Staphylococcus aureus and Escherichia coli) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสกัดสารเคอร์คูมินจากไพล ขิง และกะทือ และศึกษาประสิทธิภาพของสารเคอร์คูมินจากสารสกัดไพล ขิง และกะทือ ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus และ Escherichia coli และ ได้ดำเนินการศึกษาการสกัดสารเคอร์คูมินจากไพล ขิง และกะทือ โดยวิธีการสกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอล 95% v/v ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นดำเนินการสร้างกราฟมาตรฐานของเคอร์คูมินโดยใช้เอทานอลเป็นตัวทำละลาย (สมใจ, 2549) และนำสารสกัดเคอร์คูมินจากไพล ขิง และกะทือ ข้างต้นมาวิเคราะห์ค่าดูดกลืนคลื่นแสงที่ความยาวคลื่น 420 นาโนเมตร ดำเนินการศึกษาปริมาณสารเคอร์คูมินที่สกัดได้จากไพล ขิง และกะทือ โดยนำสารสกัดเคอร์คูมินจากไพล ขิง และกะทือข้างต้นเทียบกับกราฟมาตรฐานและคำนวณปริมาณสารเคอร์คูมินที่สกัดได้จากไพล ขิง และกะทือ และดำเนินการศึกษาประสิทธิภาพของสารเคอร์คูมินจากสารสกัดไพล ขิง และกะทือ ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย S. aureus และ E. coli โดยนำสารสกัดเคอร์คูมินจากไพล ขิง และกะทือข้างต้น มาศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ดำเนินการตามวิธีการ Disc diffusion method (Kirby-Bauer procedure) (Bauer et al., 1966; CLSI; 2006b) ที่ความเข้มข้นของสารสกัดเคอร์คูมิน 10,000 ppm โดยเจือจางความเข้มข้นของสารสกัดเคอร์คูมินด้วยตัวทำละลาย Dimethyl sulfoxide (DMSO จากการหาปริมาณสารเคอร์คูมินจากไพล ขิง และกะทือ พบว่า สารสกัดได้จาก ไพล มีปริมาณสารเคอร์คูมินมากที่สุด คือ คือ 2.24 มิลลิกรัม/น้ำหนักแห้งของพืช และ 0.31 มิลลิกรัม/น้ำหนักสดของพืช รองลงมา คือ สารสกัดได้จากขิงมีปริมาณสารเคอร์คูมินเท่ากับ 0.67 มิลลิกรัม/น้ำหนักแห้งของพืช และ 0.10 มิลลิกรัม/น้ำหนักสดของพืช และสารสกัดได้จากกะทือมีปริมาณสารเคอร์คูมิน 0.28 มิลลิกรัม/น้ำหนักแห้งของพืช และ 0.03 มิลลิกรัม/น้ำหนักสดของพืช และจากการศึกษาประสิทธิภาพของสารเคอร์คูมินจากสารสกัดไพล ขิง และกะทือ ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus และ Escherichia coli พบว่า สารสกัดเคอร์คูมินจากไพล ขิงและกะทือ ที่ความเข้มข้น 10,000 ppm ไม่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus และ Escherichia coli ได้