ประสิทธิภาพของคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสจากต้นคูนและชานอ้อยในการชะลอการสุกของกล้วย
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ณัฐธิดา นนทบุษร์, ทรงพร จันทร์ฝาก, ปณัฏฎา ชายภักตร์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
กัณฐาภรณ์ คงอินทร์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง “ประสิทธิภาพของคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสจากต้นคูนและชานอ้อยในการชะลอการสุกของกล้วย” ได้ดำเนินการศึกษาการสังเคราะห์คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสจากต้นคูนและชานอ้อย สมบัติของคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสจากต้นคูนและชานอ้อย และประสิทธิภาพของคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสจากต้นคูนและชานอ้อยในการชะลอการสุกของกล้วย จากการศึกษาการสังเคราะห์เซลลูโลส และ คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส (CMC) จากต้นคูน พบว่า เซลลูโลสที่สังเคราะห์จากต้นคูน
มีค่าร้อยละของผลิตภัณฑ์ (%yield) มากกว่าชานอ้อย และมีลักษณะเป็นผงหยาบเหมือนกัน แต่สีแตกต่างกัน และเมื่อนำเซลลูโลสไปสังเคราะห์คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส (CMC) พบว่า คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส (CMC) จากต้นคูนมีค่าร้อยละของผลิตภัณฑ์ (%yield) มากกว่าชานอ้อย และมีลักษณะเป็นผงละเอียดเหมือนกัน แต่สีแตกต่างกัน จากการศึกษาสมบัติของคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส (CMC) ที่สังเคราะห์ได้
จากต้นคูนและชานอ้อย พบว่า คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส (CMC) สังเคราะห์ที่ได้จากต้นคูนมีสมบัติคล้ายสารคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสมาตรฐาน คือ มีสีขาว ไม่มีกลิ่น ค่า pH เท่ากับ 7.0 ละลายน้ำได้ และ
จากการศึกษาประสิทธิภาพคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส (CMC) มาตรฐานและคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส (CMC) จากต้นคูนและชานอ้อยในการชะลอการสุกของกล้วย พบว่า กล้วยที่เคลือบผิวด้วยคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส (CMC) มาตรฐานและคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส (CMC) จากต้นคูนและชานอ้อยที่ความเข้มข้นเดียวกัน สามารถชะลอการสุกของกล้วยได้ใกล้เคียงกัน โดยกล้วยที่เคลือบผิวด้วยคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส (CMC) มาตรฐานและคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส (CMC) จากต้นคูนและชานอ้อยที่ความเข้มข้น 4% สามารถชะลอการสุกของกล้วยได้นานที่สุด เนื่องจากสามารถควบคุมการคายน้ำ ป้องกันการเข้าออกของแก๊สออกซิเจนและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ช่วยลดการสูญเสียน้ำหนัก และอาการเหี่ยวของกล้วยหลังการเก็บเกี่ยวของกล้วยได้มากที่สุด