สีย้อมโครโมโซมจากสารสกัดหม่อนด้วยตัวทำละลายอะซิติก

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ธันยนันท์ วชิรเดชเสถียร, กนกรัฐ โลหะจรูญ, กมลวรรณ บัวชุม

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ณัชพงษ์พัฒน์ คันธวิวรณ์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนชลกันยานุกูล

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2565

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สีย้อมโครโมโซมจากสารสกัดหม่อนด้วยตัวทำละลายอะซิติก มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสีย้อมโครโมโซมที่สกัดจากหม่อนกับสีย้อมมาตรฐาน 2.เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการย้อมติดสีโครโมโซมจากสารสกัดจากผลไม้กับสารเคมีที่เกิดจากการสังเคราะห์

จากการศึกษาพบว่า ตอนที่ 1.ตัวแปรต้นคือสารสกัดสีย้อมโครโมโซมจากหม่อนด้วยตัวทำละลายอะซิติก ตัวแปรตาม คือ การย้อมติดสีของโครโมโซม ตัวแปรควบคุม คือ ปริมาณกรดอะซิติก ระยะเวลาที่ทำการทดลอง อุณหภูมิ ทดลองโดย นำหม่อนมาคั้นน้ำออก นำมากรอง เติมสารละลายกรดอะซิติกนำปลายรากหอมแช่กรดอะซิก 3 นาที จึงเช็ดออกและแช่ในน้ำกลั่น 3 นาทีจึงเช็ดออก หยดสีย้อมและนำสไลด์ผ่านความร้อน ใช้Cover glassปิดและกดสไลด์ จากน้ันนาไป ส่องกล้องจุลทรรศน์ บันทึกผล และเปลี่ยนจากสารสกัดหม่อนด้วยตัวทำละลายอะซิติกเป็นสารสังเคราะห์อะซิโตคาร์มีน จากการทดลองพบว่าสารสกัดแอนโทไซยานินที่ติดสีได้ดีที่สุด คือ หม่อน อะซิโตคาร์มีน ตามลำดับ

สรุปได้ว่า สารสกัดจากหม่อนและสารอะซิโตคาร์มีน จะส่งผลต่อ ประสิทธิภาพของสีย้อม โครโมโซมที่แตกต่างกัน ตรงตามสมมติฐาน