การศึกษาประสิทธิภาพการห้ามเลือดของน้ำจากใบเเละเปลือกของต้นโกงกางใบเล็กเพื่อพัฒนาเเผ่นเเปะเเผล

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

อชิรญา ส่งเกษรชาติ, กานต์ธิดา แซ่อึ้ง

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

พัชรา พงศ์มานะวุฒิ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2565

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

เมื่อร่างกายเกิดบาดแผลในร่างกายมนุษย์จะมีกลไกการห้ามเลือดเพื่อไม่ให้ร่างกายสูญเสียเลือด โดยกลไกการแข็งตัวของเลือดจะเริ่มต้นขึ้นทันทีที่เกิดการบาดเจ็บต่อหลอดเลือดหรือเกิดการเว้าแหว่งของผนังหลอด

เลือด นอกจากวิธีทั่วไปเหล่านี้ในวงการแพทย์ได้พัฒนาแผ่นปิดแผลห้ามเลือดที่ใช้อยู่ในปัจจุบันซึ่งน าผงไฟบริน ที่มีคุณสมบัติช่วยห้ามเลือดมาผสมกับสารทรอมบินบริสุทธิ์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการติดผิวหนัง โดยแผ่นปิด

แผลห้ามเลือดเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีราคาที่สูง และประเทศไทยยังต้องน าเข้าจากต่างประเทศ ท าให้ผู้มีรายได้น้อยไม่สามารถเข้าถึงการรักษาได้อย่างเสมอภาค จึงท าให้ชาวประมงที่อาศัยอยู่ชายทะเลส่วนใหญ่ในจังหวัดตรัง

นิยมใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในการห้ามเลือดแทน โดยชาวประมงจะน าเปลือกมาต าให้ละเอียด ใช้พอกห้ามเลือดจากบาดแผลสด หรือจะใช้ใบอ่อนน ามาเคี้ยวหรือบดให้ละเอียดก็ใช้พอกแผลสดเพื่อห้ามเลือดได้เช่นกัน โดย

พันธุ์ไม้ที่มักพบมากที่สุดในป่าชายเลนพื้นที่จังหวัดตรังคือ โกงกางใบเล็ก โกงกางใบเล็กเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก-กลาง มีสรรพคุณ เปลือก แก้ท้องร่วง คลื่นไส้อาเจียน ห้ามเลือด ฟกช้ำใบอ่อน ช่วยในการห้ามเลือด และได้มีการวิจัยพบว่าในโกงกางใบเล็กมีสารประกอบแทนนินที่สูงและยังพบสารฟลาโวนอยด์อยู่ในใบของต้นโกงกางใบเล็กโดยในแทนนินและฟลาโวนอยด์มีผลต่อหลอดเลือดฝอยซึ่งช่วยในการห้ามเลือดได้ ทางกลุ่มของพวกเราจึงสนใจศึกษาประสิทธิภาพในการห้ามเลือดของสารสกัดจากใบอ่อนและเปลือกของโกงกางใบเล็ก เพื่อนำส่วนที่ดีที่สุดของโกงกางใบเล็กมาท านวัตกรรมแผ่นปิดแผลจากโกงกางใบเล็ก