การศึกษาประสิทธิภาพการเร่งสีกุ้งกุลาดําโดยใช้ปูนซีเมนต์และสารแอสตาแซนทีน
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ญาณิศา บุญคง, พริมา รองเดช
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
อรรถพล ขันแก้ว
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
กุ้งทะเลเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจหลักที่สร้างรายได้จากการส่งออกสินค้าสัตว์น้ำให้กับประเทศไทยมากเป็นอันดับต้นๆ และเป็นกุ้งสัตว์น้ำที่ได้รับความนิยมบริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศทั่วโลก อีกทั้งภาคใต้เป็นภาคที่มีผลผลิตกุ้งมากที่สุดในประเทศ (กรมประมง, 2557) จังหวัดตรังถือว่าเป็นจังหวัดที่ได้รับรายได้จากการเลี้ยงกุ้งเป็นอันดับต้นๆ ของภาคใต้จากการพิจารณาสัดส่วนการส่งออกกุ้งกุลาดํา พบว่าตลาดหลักในการส่งออกคือประเทศจีน 75.37% (กลุ่มเศรษฐกิจการประมง, 2564) อีกทั้งในปัจจุบันเกรษตกรมีการใช้สารเคมีแอสต้าแซนทีนเพื่อเพิ่มสีกุ้งส่งผลให้ต้นทุนในการเลี้ยงกุ้งของเกษตรกรสูงขึ้น และทางกลุ่มได้ทราบข้อมูลจากเกษตรกรว่าปูนซีเมนต์ตราเสือสามารถใช้ทดแทนสารแอสต้าแซนทีน เนื่องจากมีราคาที่ถูกกว่าทางผู้จัดทําจึงต้องการศึกษาองค์ประกอบของปูนซีเมนต์ตราเสือที่ส่งผลต่อสีของกุ้ง