การทดสอบคุณสมบัติโปรไบโอติกของแบคทีเรียกลุ่มบาซิลลัสที่คัดแยกจากมูลไก่
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
จิราวรรณ รักตน, พิชญานิน สิงคิพร
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ปฏิมา เพิ่มพูนพัฒนา, คณัสนันท์ จิรโชติกูล
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่เป็นโรคต่าง ๆ มากมาย ทำให้มีการผลิตยาปฏิชีวะเพื่อใช้ในการรักษาโรคมากยิ่งขึ้น โดยสรรพคุณของยาปฏิชีวนะมีฤทธิ์ในการฆ่าหรือยับยั้งเชื้อแบคทีเรียโดยจะสามารถทำให้หายจากโรคต่างๆได้ ซึ่งหลายคนมักเข้าใจผิดว่ายาปฏิชีวนะรักษาโรคได้หลากหลาย และเร่งให้หายจากโรคได้ไวขึ้นแต่ถ้าหากได้รับในปริมาณที่มากเกินไปโดยไม่มีเหตุจำเป็นก็จะส่งผลเสียต่อร่างกาย และเกิดอาการหายขาดยาก เรียกภาวะนี้ว่าเชื้อดื้อยา หรืออาการดื้อยา (กำธร มาลาธรรม, 2559) ซึ่งในปัจจุบันมีการใช้ยาปฏิชีวนะในฟาร์มปศุสัตว์เพื่อใช้ในการรักษาแผล และรักษาโรค หากสัตว์เลี้ยงเป็นโรคก็จะทำให้เกษตรกรสูญเสียรายได้ และเกิดหนี้สิน แต่ส่วนใหญ่เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับผลกระทบที่ตามมาของยาปฏิชีวนะในระดับปานกลางจึงอาจส่งผลเสียต่อสัตว์ในฟาร์มเช่น พบสารตกค้างในไข่ไก่ และอาจมีผลถ่ายทอดมาสู่มนุษย์ได้ (ณัฐธิดา สุขสาย, 2559) โดยปัญหาเชื้อดื้อยานี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่มาจากการใช้ยาปฏิชีวนะในฟาร์มปศุสัตว์ จึงต้องมีการนำสารสกัดจากธรรมชาติหรือจากสิ่งมีชีวิตมาใช้ทดแทนยาปฏิชีวนะ
โปรไบโอติก เป็นจุลชีพไม่ก่อโรคที่สร้างประโยชน์ต่อร่างกาย คือ ช่วยให้สุขภาพแข็งแรง และสามารถทำงานได้ดีอย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันมีจุลชีพมากกว่า 20 ชนิด ที่มีคุณสมบัติเหล่านี้ และให้ประโยชน์ในการรักษาและป้องกันโรคเกือบ 10 ชนิด แม้ว่าผลข้างเคียงจากการ ใช้จุลชีพเหล่านี้จะมีน้อยเมื่อเทียบกับยาปฏิชีวนะ แต่ก็ยังต้องระวังในการใช้จุลชีพแต่ละประเภทให้ตรงกับโรค และต้องพิจารณาการใช้ในแง่ปริมาณส่วนประกอบและระยะเวลาในการรักษาแต่ละโรค (ไชยวัฒน์ ไชยสุต, 2556) งานวิจัยหลายฉบับมีการศึกษาโปรไบโอติกแสดงให้เห็นถึงคุณประโยชน์ของโปรไบโอติกในการป้องกันโรค และเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย ดังนั้นการบริโภคโปรไบโอติกหรือจุลินทรีย์สายพันธุ์ดีต่าง ๆ อย่างแบคทีเรียแล็กโทบาซิลลัส รียูเทอรี ในรูปแบบอาหารหรืออาหารเสริม อาจช่วยปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ เสริมสร้างการทำงานของร่างกาย และรักษาสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรง ซึ่งอาจช่วยลดการใช้ปฏิชีวนะและลดปัญหาการเกิดเชื้อดื้อยาได้ด้วย (กำธร มาลาธรรม, 2559) จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยเสริมให้หายจากโรคที่เกิดขึ้น โดยการทานโปรไบโอติกควบคู่กับยาปฏิชีวนะ และทำให้ปัจจุบันมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายซึ่งพัฒนามาจากโปรไบโอติก
Bacillus sp. เป็นแบคทีเรียแกรมบวก รูปร่างเป็นท่อน สามารถสร้างสปอร์และสารสีได้ และมีคุณสมบัติเป็นโปรไบโอติก ซึ่งโปรไบโอติกเป็นจุลชีพที่ไม่ก่อสร้างโรคในร่างกาย และเป็นจุลชีพที่มีประโยชน์ให้กับร่างกาย สามารถพบได้ในลำไส้ไก่และมูลไก่ โดยในลำไส้ไก่จะมีแบคทีเรียโปรไบโอติกที่เหมาะสำหรับการเลี้ยงไก่ เป็นแบคทีเรียที่ช่วยย่อยสลายของเสียอินทรีย์ทำให้มีสารอินทรีย์ตกค้างน้อยลง ทำให้ไก่ที่เลี้ยงแข็งแรง มีอัตราการรอดสูง และสามารถสร้างภูมิต้านทานมาป้องกันตัวเอง (สุภัจฉรา นพจินดา, 2557) จึงมีความสำคัญกับการประกอบอาชีพเกษตรกรรม เนื่องจากเพิ่มผลผลิตทางรายได้กับเกษตรกรรม
จากการศึกษาความสามารถในการส่งผลดีต่อสุขภาพโฮสต์ของโปรไบโอติก สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในทางด้านต่างๆ อาทิเช่น การประยุกต์ใช้ในด้านอุตสาหกกรม เกษตรกรรม และการแพทย์เป็นต้น คณะผู้จัดทำจึงเล็งเห็นว่าหากเราพบว่า Bacillus sp. ที่แยกมาจากมูลไก่เป็นโปรไบโอติกที่มีประโยชน์ ก็อาจมีการนำไปประยุกต์ใช้พัฒนาในด้านต่างๆ หรืออาจเป็นทางเลือกใหม่โดยนำมาใช้ทดแทนยาปฏิชีวนะ ต่อไปได้ในอนาคต