ซองเครื่องปรุงเพคตินจากเปลือกด้านในจำปาดะ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
พัทธ์ธีรา อิสโร, ปิ่นจรัส รุ่งโรจน์กำเนิด
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สาธิต บัวดำ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีที่เหมาะสมในการสกัดเพคตินจากเปลือกด้านในจำปาดะและเพื่อศึกษาความสามารถในการเป็นบรรจุภัณฑ์ของซองเครื่องปรุงเพคตินจากเปลือกด้านในจำปาดะ โดยนำเปลือกด้านในจำปาดะมาสกัดด้วยวิธีที่แตกต่างกัน 3 วิธี ได้แก่ สกัดด้วย 1 M CaCl2, 95% ethanol และ 0.05 M HCl มีมากที่สุด คือร้อยละ 5.13 ± 0.74 เพคตินที่สกัดด้วย 95% ethanol มีปริมาณรองลงมาคือร้อยละ 4.53 ±0.30 และปริมาณเพคตินที่สกัดด้วย 1 M CaCl2 มีน้อยที่สุด คือ ร้อยละ 1.29 ± 0.05 สำหรับ เพคตินที่สกัดด้วย 0.05 M HCl มีปริมาณเมทอกซิลร้อยละ 8.80±0.23 ขึ้นไป จัดเป็นเพคตินชนิด HMP และเมื่อเปรียบเทียบกับเพคตินมาตรฐาน พบว่า มีปริมาณเมทอกซิลร้อยละ 7.10 ±0.03 และเมื่อทดสอบคุณสมบัติของเพคตินที่สกัดได้กับเพคตินมาตรฐาน โดยใช้เทคนิคฟูเรียร์ทรานสฟอร์มอินฟราเรดสเปกโทรสโกปี พบว่า เพคตินจากเปลือกด้านในจำปาดะมีคุณลักษณะเช่นเดียวกัน
ในการศึกษาอัตราส่วนในการขึ้นรูปแผ่นฟิล์ม (โซเดียมอัลจิเนต : เพคตินที่สกัดด้วย 0.05 M HCl) 2 : 2 สลายตัวได้ดีที่สุดในเวลา 2.53 นาที และ อัตราส่วนที่ใช้ขึ้นรูปซองเครื่องปรุง (โซเดียมอัลจิเนต : เพคตินที่สกัดด้วย 0.05 M HCl) 2 : 1 สลายตัวได้ดีที่สุดในเวลา 6.47 นาที