การพัฒนาฟิล์มแบคทีเรียเซลลูโลสและสารสกัดจากเปลือกมังคุดสําหรับตรวจสอบ ความเน่าเสียของเนื้อสัตว์

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ชมพูนุท โสมภีร์, ณฐพรรณอร เกียรติดิลกรัฐ, ธันยพร ประเสริฐวชิรากุล

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

วีรวุฒิ เทียนขาว, อุษา จีนเจนกิจ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2563

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ฟิล์มถนอมอาหารถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เนื่องจากมีลักษณะใส มีส่วนช่วยในการถนอม อาหาร และใช้งานง่าย โดยฟิล์มที่วางขายตามท้องตลาดมักทํามาจาก PE (polyethylene) PVC (polyvinylchloride) หรือ PVDC (polyvinylidenechloride) อย่างไรก็ตามหากใช้ฟิล์มถนอมอาหารไม่ถูกวิธีจะ ก่อให้เกิดการปนเป้ือนในอาหารนอกจากนกี้ระบวนการผลิตรวมถึงการย่อยสลายของฟิล์มเหล่านี้ยังไม่เป็นมิตรต่อ ส่ิงแวดล้อมอีกด้วย

วัสดุที่สามารถนํามาใช้แทนฟิล์มถนอมอาหาร เช่น ขี้ผึ้ง ซิลิโคน โพลิเมอร์จากธรรมชาติ ฯลฯ สําหรับ โครงงานนี้คณะผู้จัดทําสนใจท่ีจะนํา Bacterial cellulose ที่ผลิตโดย Acetobacter xylinum มาพัฒนาเป็นฟิล์ม ถนอมอาหาร เนื่องจากโพลิเมอร์ท่ีได้มีความบริสุทธิ์สูง เส้นใยใส เป็นระเบียบ และทนต่อแรงดึง รวมถึงเส้นใยน้ันมี ขนาดเล็กระดับนาโน ทําให้ดูดซับสารต่างๆได้อย่างท่ัวถึง

บนบรรจุภัณฑ์ต่างๆมักมีวันหมดอายุกํากับไว้ แต่หลายคร้ังที่ผู้บริโภคพบว่าวันหมดอายุเหล่าน้ันไม่แม่นยํา คณะผู้จัดทําจึงเล็งเห็นถึงความสําคัญของบรรจุภัณฑ์ที่จะสามารถบอกได้ว่าอาหารหมดอายุหรือไม่ โดยพิจารณา จากแก๊สเอมีนทเี่กิดจากการเน่าเสียของเน้ือสัตว์ในขณะน้ัน

สารสกัดจากเปลือกมังคุดมีสาร Anthocyanin ซึ่งเป็น pH indicator จากธรรมชาติ โดยโครงสร้างของ Anthocyanin จะเปล่ียนแปลงตาม pH ต่างๆ ทําให้สีท่ีสังเกตได้แตกต่างกันไป

จากที่กล่าวมาข้างต้น ทางคณะผู้จัดทําจึงต้องการพัฒนาแผ่นฟิล์มอินดิเคเตอร์จาก Bacterial cellulose โดยการผสมสารสกัดจากเปลือกมังคุดเพ่ือให้แผ่นฟิล์มดังกล่าวสามารถบอกคุณภาพของเนื้อสัตว์ในขณะน้ันได้