ตู้ฟักไข่โดยใช้ตู้เย็นรีไซเคิลแบบกลับไข่อัตโนมัติ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กิติมา บุญมี, ธนัญญา เลิศนิบุนะ, ธนัชชา เผือกอ่อน
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ถนัดศรี ทัดเที่ยง
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มอัตราการเกิดของไก่ในการฟักไข่ในระยะเวลา 21 วัน
จากตู้ฟักไข่ไก่โดยใช้ตู้เย็นรีไซเคิลแบบกลับไข่อัตโนมัติ แบ่งการทดลองเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1
การออกแบบและประดิษฐ์ ตู้ฟักไข่ไก่โดยใช้ตู้เย็นรีไซเคิลแบบกลับไข่อัตโนมัติ ผลการศึกษาพบว่า
การออกแบบและสร้างตู้ฟักไข่ไก่โดยใช้ตู้เย็น รีไซเคิลแบบกลับไข่อัตโนมัติ
โดยนำตู้เย็นเก่าที่เสียแล้วมาเป็นโครงสร้าง แล้วนำอุปกรณ์มาต่อเข้ากับโครงสร้างเพื่อควบคุมอุณหภูมิ
ควบคุมความชื้นให้คงที่ และควบคุมให้ระบบหมุนเปลี่ยนกลับไข่อัตโนมัติ ตู้ฟักไข่แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
ตู้ฟัก และตู้เกิด ตู้ฟักไข่นี้จะมีระบบควบคุมด้วยเบรกเกอร์ จำนวน 3 ตัว ได้แก่เบรกเกอร์ตัวที่ 1
เป็นชุดควบคุมอุณหภูมิภายในตู้ฟัก ประกอบไปด้วย ดิจิตอลควบคุมอุณหภูมิ พัดลมกระจายความร้อน
และฮิตเตอร์ตัวให้ความร้อน เมื่อยกเบรกเกอร์ตัวที่ 1 ชุดควบคุมอุณหภูมิจะทำงาน
โดยดิจิตอลจะสัมพันธ์กับฮิตเตอร์ คือ จะตั้งอุณหภูมิของตู้ฟักไข่ไว้ที่ 37.5–38.0 องศาเซลเซียส
เมื่ออุณหภูมิในตู้ฟักไข่ถึง 38.0 องศาเซลเซียส ดิจิตอลจะตัดไฟให้ฮิตเตอร์หยุดทำงาน
ทำให้อุณหภูมิภายในตู้ฟักลดลง เมื่อถึง 37.5 องศาเซลเซียส ดิจิตอลจะสั่งให้ฮิตเตอร์ทำงาน
จะทำงานเช่นนี้อยู่ตลอดเวลา เบรกเกอร์ตัวที่ 2 เป็นชุดควบคุมการกลับไข่ในตู้ฟัก โดยความเอียงของถาดกลับไข่ใช้
30 องศา และเบรกเกอร์ตัวที่ 3 ชุดควบคุมอุณหภูมิภายในตู้เกิด
ประกอบด้วยดิจิตัลควบคุมอุณหภูมิหลอดไฟตัวให้ความร้อนและพัดลมกระจายความร้อน ขั้นตอนที่ 2
หาประสิทธิภาพในการฟักไข่ของตู้ฟักไข่และตู้เกิดโดยใช้ตู้เย็นรีไซเคิล
พบว่าอุณหภูมิภายในตู้ฟักไข่มีอุณหภูมิที่เหมาะสมเฉลี่ยอยู่ที่ 37.5-38.0 องศาเซลเซียส
และความชื้นที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 29-31 องศาเซลเซียส
และเมื่อศึกษาปริมาณการฟักออกเป็นตัวของลูกไก่จากตู้ฟักไข่ โดยนำไข่ไก่พื้นเมือง จำนวน 100 ฟอง
มาฟักไข่ในตู้ฟักไข่ แล้วทำการตรวจสอบไข่ไม่มีเชื้อ และ ไข่เชื้อตายโดยการส่องไข่ 3 ครั้งคือวันที่ 7,14 และ 18
ของการฟักไข่ ต่อจากนั้นนำไข่เข้าตู้เกิด ทำการทดลองซ้ำ 3 ครั้ง พบว่า ในช่วงระยะเวลา 0-7 วัน มีไข่ไม่มีเชื้อ
คิดเป็นร้อยละ 3.67 ช่วงระยะเวลา 8-14 วัน มีไข่เชื้อตาย คิดเป็นร้อยละ 2 ช่วงระยะเวลา 15-18 วัน
มีไข่เชื้อตายร้อยละ 1.67 ช่วงเวลา 9-21 วัน มีลูกไก่ตายโคมร้อยละ 1.33 ฟักออกเป็นตัวทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ 91
ของไข่ทั้งหมด