วัสดุเชิงประกอบจากซังข้าวโพดและชานอ้อยโดยใช้แป้งดัดแปรและพอลิสไตรีนโฟมรีไซเคิลเป็นตัวเชื่อมประสาน
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ธนวรรณ หฤทัยสุขสันติ์, พสชนัน พละกลาง, พรนภัส จิตประสาน
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สอาด ริยะจันทร์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โฟมเป็นวัสดุที่มีต้นทุนการผลิตต่ำ มีน้ำหนักเบาและสะดวกต่อการใช้งาน ทำให้บรรจุภัณฑ์ประเภทโฟมถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย ก่อให้เกิดขยะประเภทโฟมจำนวนมากซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม งานวิจัยนี้จึงได้นำขยะประเภทโฟมมาดัดแปรโครงสร้างทางเคมีด้วยMaleic anhydride แล้วนำมาใช้เป็นตัวเชื่อมประสานในวัสดุเชิงประกอบจากเส้นใยชานอ้อยและเส้นใยซังข้าวโพด และเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการยึดเกาะระหว่างตัวเชื่อมประสานกับเส้นใยจึงมีการเพิ่มแป้งมันสำปะหลังดัดแปรโครงสร้างด้วยMaleic Anhydrideในตัวเชื่อมประสาน และทำการศึกษาคุณสมบัติของวัสดุที่ใช้ตัวเชื่อมประสานในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน