การศึกษาชนิดและจำนวนของลูกน้ำยุงในสถานประกอบการแหล่งท่องเที่ยวบริเวณ หาดปากเมง อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ปิ่นปินัทธ์ พงษ์ศิริกุล, ศลิษา สงพราหมณ์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ศกุนตลา รอดรัก
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดและจำนวนของลูกน้ำยุงในสถานที่ประกอบการแหล่งท่องเที่ยวบริเวณหาดปากเมง อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง ได้แก่ ร้านค้า โรงแรม/รีสอร์ท ทั้งสิ้น 26 แห่ง ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม และเดือนกันยายน - ตุลาคม 2562 ทางคณะผู้วิจัยได้ทำการเก็บตัวอย่างลูกน้ำยุงจากภาชนะชนิดต่าง ๆ โดยใช้กระชอนที่มีขนาดตาข่าย 0.55 มิลลิเมตร จำแนกภาชนะออกเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มภาชนะประเภทขยะ กลุ่มภาชนะกักเก็บน้ำ และกลุ่มภาชนะอื่น ๆ มีการตรวจสอบและบันทึกลักษณะของแหล่งเพาะพันธุ์ เช่น ขนาดเส้น
รอบวงของแหล่งเพาะพันธุ์ ร่มเงา การปรากฏของพืชน้ำและตะไคร่น้ำ ระดับความสูงของน้ำ กลิ่น ความขุ่นใส การมีและไม่มีฝาปิดของแหล่งเพาะพันธุ์ สีของภาชนะ จำนวนลูกน้ำของยุงแต่ละชนิด และวัดค่าคุณภาพน้ำ ได้แก่ อุณหภูมิบริเวณผิวน้ำ (Surface Temperature) อุณหภูมิน้ำ (Water Temperature) ค่าการนำไฟฟ้า (Conductivity) และ ค่าความเป็นกรด-เบส (pH) จากนั้นจึงทำการดองลูกน้ำยุงในห้องปฏิบัติการ จัดจำแนกชนิดและสกุล พร้อมนับจำนวน จากการศึกษาวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูล สามารถใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของยุง เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่นักท่องเที่ยวและทำให้หาดปากเมงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ปลอดภัย