ศึกษาเปรียบเทียบการขึ้นรูปตะเกียบพลาสติกชีวภาพที่มีผงชานอ้อยเป็นส่วนผสม

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

สุภรัตน์ ทองเรียม, รัชชานนท์ ปัญญาสาย

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

บารเมษฐ์ สิมพร

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2562

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานวัตกรรมตะเกียบที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพและทางน้ำจากวัสดุเชิงประกอบระหว่างคาร์บอกซิเมทิลเซลลูโลสหรือซีเอ็มซี กับโพลิไวนิลแอลกอฮอล์ หรือพีวีเอและผงจากชานอ้อย โดยใช้สารประกอบ กลีเซอรอลความเข้มข้นร้อยละ 92.09 ในการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์โดยทดสอบผงจากชานอ้อยโดยแปรเป็น 5 ระดับ คือ ร้อยละ 5,10,15,30 และ 40 ของน้ำหนัก CMC กับ PVA ผสมกับกลีเซอรอลโดยเปรียบเทียบจาก การทดสอบอัตราการไหลของพลาสติก และ การวิเคราะห์คุณสมบัติทางความร้อนด้วยเทคนิค Differential Scanning Calorimeters (DSC)

หลังจากได้พลาสติกสำหรับเตรียมขึ้นรูปแล้วจึงนำไปขึ้นรูปด้วยวิธีการ การฉีดขึ้นรูป(Injection Molding)ได้เป็นผลิตภัณฑ์ตะเกียบพลาสติกชีวภาพละลายน้ำ

จากนั้นนำผลิตภัณฑ์ที่ได้ไปเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์พลาสติกธรรมดา ด้วยวิธี การวัดค่าความถ่วงจำเพาะของพลาสติก การทดสอบอุณหภูมิในการอ่อนตัวของพลาสติกการทดสอบสมบัติด้านการทนแรงกระแทก และการทดสอบความทนแรงดึง แล้วนำผลที่ได้จากการทดสอบมาวิเคราะห์แล้วเปรียบเทียบเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำมาทดแทนตะเกียบไม้ใช้แล้วทิ้งและตะเกียบพลาสติกได้