ศึกษาและเปรียบเทียบประสิทธิภาพการดูดซับน้ำมันบนผิวน้ำของฟองยางพาราผสมใยนุ่นและถ่านกัมมันต์ในอัตราส่วนต่าง ๆ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ฉัตรชวิศ หิมะคุณ, สุณัฐชา พึ่งตน

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

อารีรัตน์ มัฐผา

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2561

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

เนื่องจากในปัจจุบัน โลกของเราประสบปัญหาเกี่ยวกับน้ำมันดิบที่รั่วอยู่ในทะเล ซึ่งน้ำมันดิบที่ปนเปื้อนอยู่ในทะเลนั้น โดยน้ำมันที่รั่วไหลสู่แหล่งน้ำจะเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพ คราบน้ำมันที่ลอยอยู่บนผิวน้ำจะทำปฏิกิริยากับออกซิเจน ทำให้ออกซิเจนในน้ำลดลง และปิดกั้นกระบวนการphotosynthesis ( การสังเคราะห์ด้วยแสง ) ของพืชน้ำและสาหร่ายต่าง ๆ ส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงสิ่งมีชีวิตในน้ำชนิดอื่น ๆ อีกทั้งในประเทศไทยขณะนี้ ก็ประสบปัญหาราคายางพาราตกต่ำ ทำให้เกษตรกรที่ปลูกยางพาราขาดรายได้อีกด้วย ดังนั้นทางเราจึงคิดที่จะแก้ไขปัญหาทั้งสองอย่างโดยการนำเอายางพารามาประยุกต์ในแบบต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาทั้งสองอย่างนี้ไปพร้อมๆกัน โดยเป็นการใช้ยางพาราให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น และแก้ไขปัญหาน้ำมันดิบรั่วในทะเลอีกด้วย หากโครงงานนี้แพร่หลายอาจทำให้เกษตรกรที่ปลูกยางพาราสามารถขายยางพาราในราคาที่สูงขึ้นได้ ทั้งยังช่วยกำจัดปัญหามลพิษทางทะเลได้อีกด้วย ทำให้น้ำมันดิบที่รั่วอยู่ในทะเลถูกดูดซึมขึ้นมาได้ โดยไม่ต้องใช้เส้นผมในการดูดน้ำมันดิบจากทะเลเหมือนอย่างปกติ ซึ่งอาจหลงเหลือสิ่งตกค้างไว้ในทะเล โดยจากที่ทราบข้อมูลมา ยางพารามีคุณสมบัติในการดูดซับของเหลวที่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพ และในส่วนของนุ่นมีคุณสมบัติในการดูดซับน้ำมันที่ดีเยี่ยม ทั้งยังสามารถลอยน้ำได้เป็นอย่างดีอีกด้วย และเนื่องจากถ่านกัมมันต์มีลักษณะที่เป็นรูพรุน ทำให้มีคุณสมบัติในการดูดซับสารต่างๆได้อย่างดีเยี่ยม กลุ่มของพวกเราจึงมีแนวคิดที่นำเอายางพารามาขึ้นรูปในลักษณะต่าง ๆ และนำไปผสมนุ่นและถ่านกัมมันต์ ในอัตราส่วนต่างๆ เพื่อหาลักษณะของฟองยางพาราที่มีคุณสมบัติในการดูดซับน้ำมันได้ดีที่สุด โดยทางเราได้เริ่มทดลองโดยการหาคุณสมบัติการดูดซับน้ำมันบนผิวน้ำของนุ่นและผงถ่านกัมมันต์ก่อน