การศึกษาการขยายพันธุ์ปทุมมาโดยสูตรอาหาร MS ดัดแปลง ในสภาวะปลอดเชื้อ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

อิสริยา ศรีสมัคร, ปทุมมณี ปทุมมณี

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

กัลยาณี วัฒนธีรางกูร

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2562

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ปทุมมาเป็นที่ต้องการของตลาดปัจจุบัน และเป็นที่นิยมในหลายประเทศ ปทุมมาสามารถใช้เป็นไม้ตัดดอก ไม้กระถาง ไม้ประดับ ที่สำคัญการผลิตหัวพันธุ์เพื่อส่งขายต่างประเทศ ในประเทศไทยมีพืชน้อยชนิดที่สามารถส่งออกได้ก็นับว่าเป็นโอกาสทองที่สามารถนำรายได้เข้าประเทศก็จะทำให้เกษตรกร

มีรายได้แหล่งผลิตหัวพันธุ์เพื่อการส่งออก และในการส่งออกปทุมมานั้น มีปัญหาเกี่ยวกับโรคในปทุมมา คือ โรคหัวเน่า ซึ่งเกิดจากแบคทีเรีย ทำให้ประเทศไทยต้องมีมาตรฐานเข้มงวดในการควบคุมโรค

คณะผู้จัดทำจึงได้เห็นประโยชน์ของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่สามารถนำมาเพาะเลี้ยงปทุมมาให้ได้ผลผลิตที่มีประสิทธิภาพ เพิ่มปริมาณได้เป็นจำนวนมาก แข็งแรง และปลอดโรค จึงได้ทดลองอาหารที่ใช้เพาะเลี้ยงที่ได้จากธรรมชาติคือ น้ำมะพร้าวและผลข้าวโพดอ่อน และได้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมีสูตรอาหารเพาะเลี้ยง ดังนี้ อาหารสูตร MS (Murashige and Skoog) ที่เติมน้ำมะพร้าว และอาหารสูตร MS (Murashige and Skoog) ที่เติมข้าวโพดอ่อน เป็นการนำพืชจากธรรมชาติมาทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่ออนุรักษ์และเพิ่มผลผลิตของปทุมมา