การศึกษาเส้นใยธรรมชาติเพื่อผลิตหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันฝุ่น PM 2.5
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
สุภัทรา เเสนส้าว, ศุภมาส มูลสัน, ศรุตา มูลสัน
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
กมลฑิพย์ ประเทศ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานการศึกษาเส้นใยธรรมชาติเพื่อผลิตหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันฝุ่น PM 2.5 เนื่องจากในสถานการณ์ปัจจุบันประเทศไทยกำลังประสบปัญหามลพิษด้านหมอกควันทำให้มีฝุ่นละอองขนาดเล็ก ขนาด PM 2.5 มีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพอนามัย โดยเฉพาะระบบทางเดินหายใจ ดังนั้นจึงต้องหาวิธีการป้องกันเบื้องต้นก่อนที่ฝุ่นละอองขนาดเล็กจะเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจโดยการใช้หน้ากากอนามัยที่ได้คุณภาพสามารถป้องกันฝุ่นได้ แต่ปัญหาก็ตามมาคือ เมื่อมีการแพร่กระจายของฝุ่นละอองในประมาณมาก หน้ากกากอนามัยก็จะขาดตลาดแถมราคาก็สูงขึ้น ทางผู้จัดทำจึงได้คิดโครงงานนี้ขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ เพื่อผลิตหน้ากากอนามัยป้องกันฝุ่น PM 2.5 จากเส้นใยธรรมชาติ เพื่อทดสอบประสิทธิภาพหน้ากากอนามัยจากเส้นใยธรรมชาติในการป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสอบถามความพึงพอใจของหน้ากากอนามัยจากกลุ่มตัวอย่าง พบว่า เส้นใยจากผักตบชวา ผสมเส้นใยกล้วยและเส้นใยฝ้าย มีความเหนียวนุ่มเส้นใยประสานงานกันอย่างดีและมีช่องว่างระบายอากาศได้เป็นอย่างดีจึงเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการผลิตหน้ากากอนามัยป้องกันฝุ่น PM2.5 และเมื่อทำการกรองฝุ่น PM 2.5 พบว่า เส้นใยจากผักตบชวาสามารถกรองฝุ่นละอองได้ลดลงจาก 696.66 เหลือ 28.66 ใยกล้วย จาก 696.33 ลดลงเหลือ 32.33 ผักตบชวาผสมใยกล้วยจาก 720 ลดลงเหลือ 27.66 และ ผักตบชวา ผสมใยกล้วยผสมใยฝ้าย จาก 696 ลดลงเหลือ 26.33 และจากกาสำรวจความพึงพอใจของหน้ากากอนามัยจากกลุ่มตัวอย่างพบว่า ความพึงพอใจด้านความปลอดภัย ค่าเฉลี่ย
4.52 ค่า S.D. 0.69 อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด และความพึงพอใจด้านรูปแบบผลิตภัณฑ์ มีค่าเฉลี่ย 4.66 ค่า S.D. 0.57 มีความพึงพอใจมากที่สุด