เครื่องย่อยสลายไมโครพลาสติก ด้วยท่อนาโนคาร์บอนจากเปลือกหอยแครง (Tegillarca granosa shell)

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

บุญศิกานต์ สวนจันทร์, กัญสิริ ศากยโรจน์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ซัลวาณีย์ เจ๊ะมะหมัด

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนเบญจมราชูทิศ

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

มลพิษจากไมโครพลาสติกในระบบน้ำกลายเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลก ไมโครพลาสติกเหล่านี้มีความสามารถในการเป็นตัวขนส่งสารมลพิษอินทรีย์และโลหะหนัก ซึ่งก่อให้เกิดความเป็นพิษอย่างรุนแรงต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล ดังนั้น โครงงานนี้จึงมุ่งสร้างสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถย่อยสลายไมโคร พลาสติก โดยใช้ท่อนาโนคาร์บอนที่ได้มาจากเปลือกหอยแครง (Tegillarca granosa shell) ซึ่งเครื่องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) บ่งบอกคุณสมบัติของท่อนาโนคาร์บอน จากนั้นอุปกรณ์ที่ใช้เพื่อตรวจวัดปริมาณของแข็งที่ละลายในน้ำทั้งหมด (TDS meter) วัดปริมาณความเข้มข้นของไมโครพลาสติกที่อยู่ในน้ำ เครื่องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) แสดงให้เห็นว่า ท่อนาโนคาร์บอนที่เคลือบด้วยโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนตมีความแข็งแรงเชิงกลมากกว่าท่อนาโนคาร์บอนที่ยังไม่เคลือบโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต และส่วนของโครงสร้างยังมีความเสถียรเชิงเคมีสูง เนื่องจากเคลือบด้วยโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนตเข้าไป ส่งผลต่อท่อนาโนคาร์บอนทำให้เกิดคุณสมบัติทางแม่เหล็ก จึงสะดวกต่อการนำกลับมาใช้ใหม่ได้หลายครั้ง นอกจากนี้ท่อนาโนคาร์บอนสามารถย่อยสลายไมโครพลาสติกประเภท PE PET HDPE และ LDPE โดยความเข้มข้นของไมโคร พลาสติกมีแนวโน้มลดลงเมื่อเวลาผ่านไป 24 ชั่วโมง ด้วยการทำงานของท่อนาโนคาร์บอนที่สร้างพันธะเคมีต่อ ไมโครพลาสติกทำให้ไมโครพลาสติกถูกย่อยสลาย ส่งผลให้ความเข้มข้นของไมโคร พลาสติกในน้ำหลังจากย่อยสลายลดลง ดังนั้น สิ่งประดิษฐ์นี้จะถูกนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพในการลดความเข้มข้นของไมโครพลาสติกในน้ำ