เครื่องบำบัดน้ำเสียระบบ EC โดยใช้ Solar Chemical
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ไวกูณฐ์ พันธุ์ตัน, ภัคพล สุวรรณชาติ, พชร วงษ์มา
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
รัชฎาพร วัชรวิชานันท์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การปรับปรุงคุณภาพน้ำและบำบัดน้ำเสียมีหลายวิธี เช่น กระบวนการทางเคมี (Chemical process) กระบวนการทางชีววิทยา (Biological process) กระบวนการทางกายภาพ (Physical process) และกระบวนการทางกายภาพ-เคมี (Physical-chemical process) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสารที่ละลายในน้ำเสียชนิดนั้นเป็นสารประเภทใด ในปัจจุบันพบว่ามีการผลิตสารอินทรีย์สังเคราะห์หลายประเภทมากขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการในการใช้งานส่วนใหญ่มักเป็นสารโมเลกุลขนาดใหญ่หรือมีโครงสร้างแตกต่างจากสารอินทรีย์ธรรมชาติ สารอินทรีย์สังเคราะห์หลายชนิดจึงย่อยสลายได้ยากด้วยกระบวนการทางชีวภาพ จากการสำรวจแหล่งน้ำในจังหวัดนครราชสีมา มีน้ำเสียที่ควรศึกษา 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 น้ำเสียจากน้ำทิ้งของโรงงานอุตสาหกรรมบริเวณเขตอุตสาหกรรมสุรนารี และกลุ่มที่ 2 คือน้ำเสียจากน้ำทิ้งที่ปล่อยลงสู่แม่น้ำลำตะคลองควรมีวิธีการกำจัดที่เหมาะสมตามมาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้ง ดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงสนใจที่จะศึกษาและพัฒนาเครื่องบำบัดน้ำเสียระบบ EC และนำมาประยุกต์ใช้กับพลังงานจากแสงอาทิตย์หรือเรียกว่าการบำบัดน้ำเสียแบบSolar Chemicalเพื่อนำมาใช้ในการบำบัดน้ำเสียของน้ำทิ้งโรงงานอุตสาหกรรมและน้ำทิ้งที่ปล่อยลงสู่แม่น้ำลำตะคลองในจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเครื่องบำบัดน้ำเสียที่สร้างขึ้นได้มีการพัฒนา 2 กระบวนการ คือ กระบวนการบำบัดน้ำเสียระบบ EC โดยใช้ Solar chemicalและกระบวนการแยกตะกอนทางกายภาพ-เคมีประกอบด้วยชั้นกรองถ่าน-ทราย-หินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแยกตะกอนและโลหะหนักซึ่งเป็นการประหยัดพลังงานไฟฟ้าและสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน โดยมีการใช้แผงโซล่าเซลล์เชื่อมต่อกับแบตเตอรี่ขนาด 24 โวลต์ และต่อเข้ากับระบบ EC (Electrocoagulationsystem) จากนั้นนำไปกรองผ่านชั้นกรอง ถ่าน-ทราย-หินและนำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดมากวิเคราะห์ความเป็นกรด-เบส(pH) ปริมาณโลหะหนักทั้งหมดที่ละลายในน้ำ(TDS) เทียบสีของน้ำ และปริมาณจุลลินทรีย์ผลที่ได้พบว่า ตัวย่างน้ำเสียทิ้งที่ศึกษา 2 กลุ่ม หลังจากผ่านกระบวนการบำบัดด้วยเครื่องบำบัดน้ำเสียระบบ ECโดยใช้ Solar chemicalมีคุณภาพน้ำดีขึ้นไม่เกินค่ามาตรฐานสามารถปล่อยลงสู่ท่อระบายน้ำทิ้งและแม่น้ำลำตะคลองได้