คอมโพสิตนำไฟฟ้าของยางธรรมชาติและคาร์บอน

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พราวรวี บุตรงาม, วฤษสพร วงษ์รัตนพิพัฒน์, จิตจารี นิลเลี่ยม

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ชนาธิป สามารถ, สุวดี ก้องพารากุล

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2560

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ปัจจุบันยางพาราได้รับผลกระทบจากราคายางสังเคราะห์ซึ่งเป็นสินค้าทดแทนยางธรรมชาติ โดยเมื่อราคาน้ำมันดิบซึ่งเป็นวัตถุดิบตั้งต้นของยางสังเคราะห์อยู่ในระดับต่ำส่งผลให้ราคายางสังเคราะห์ปรับตัวลดลง ทำให้ผู้ผลิตหันไปใช้ยางสังเคราะห์แทนยางธรรมชาติเพื่อลดต้นทุน และในท้ายที่สุดก็ส่งผลให้ราคายางธรรมชาติประสบภาวะตกต่ำ จนเกษตรกรสวนยางเดือดร้อน

ยางธรรมชาติมีสมบัติเชิงกลดี นั่นคือยางมีความทนทานต่อแรงดึง (tensile strength) ความทนทานต่อการฉีกขาด (tear resistance) และความยืดหยุ่น (elasticity) สูง อีกทั้งประเทศไทยส่งออกยางธรรมชาติอยู่ในรูปวัตถุดิบแปรรูปขั้นต้นซึ่งมีมูลค่าต่ำ เช่น ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น ทำให้การสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศและการยกระดับรายได้ของเกษตรกรไม่มากเท่าที่ควร และหากเรื่องนี้ได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ก็จะส่งผลดีต่อประเทศและเกษตรกรชาวสวนยางพาราอย่างมหาศาล

จากการค้นคว้างานวิจัยของเบญจพร หนูคล้าย (2551) ซึ่งเป็นการศึกษาสมบัติเชิงกลและสมบัติทางไฟฟ้าของวัสดุผสมสององค์ประกอบจากยางธรรมชาติผสมเขม่าดำ และวัสดุผสมสามองค์ประกอบจากยางธรรมชาติผสมเขม่าดำและท่อนาโนคาร์บอน พบว่าวัสดุผสมจากยางธรรมชาติผสมเขม่าดำ และวัสดุผสมจากยางธรรมชาติผสมเขม่าดำและท่อนาโนคาร์บอนนั้นสามารถนำไฟฟ้าได้

ผู้จัดทำจึงมีความสนใจที่จะศึกษาการเตรียมคอมโพสิตนำไฟฟ้าของยางธรรมชาติและคาร์บอน เพื่อเพิ่มคุณค่าให้แก่ยางธรรมชาติ และเป็นแนวทางหนึ่งในการนำยางธรรมชาติไปประยุกต์ใช้ในอนาคต