คลอโรฟิลล์ เอ จากผำต่อการดูดซับและวิเคราะห์ปริมาณปรอท

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

นภัสวรรณ คีรีชัยวัฒน์, สุธนัย อาจวิชัย, สิรวิชฐ์ ทรงเจริญ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

นุรักษ์ กฤษดานุรักษ์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2562

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาตัวดูดซับและวิเคราะห์ปริมาณปรอท เนื่องจากปัจจุบันในระบบนิเวศมีการปนเปื้อนของปรอท และเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต โดยตัวรองรับที่ใช้ คือ เปลือกถั่วลิสงซึ่งมีคุณสมบัติมีรูพรุนสูง พื้นที่ผิวมาก และมีอยู่ทั่วไป โดยปรับแต่งโครงสร้างด้วยKOH 1M เป็นเวลา 24 ชม.ที่อุณหภูมิห้อง ทำให้โครงสร้างภายในของเปลือกถั่วลิสงเปลี่ยนแปลง และกำจัดเซลลูโลสออกไปบางส่วน จนพื้นผิวของเปลือกถั่วลิสงสม่ำเสมอ และมีอัตราส่วนของพื้นที่ผิวต่อปริมาตรเพิ่มมากขึ้น ส่วนตัวที่ใช้สำหรับดูดซับปรอท คือ คลอโรฟิลล์ เอ ที่สกัดมาจากผำ เป็นพืชที่มีสีเขียวมาก ขยายพันธุ์ได้ง่าย โดยสกัดด้วยตัวทำละลายอินทรีย์ ได้แก่ เอทานอลและอะซีโตน เป็นเวลา 30 นาที ที่อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส พบว่า เอทานอล 60% สามารถสกัดคลอโรฟิลล์ เอ ได้ปริมาณมากที่สุด จึงนำคลอโรฟิลล์ เอ ใส่ลงบนตัวรองรับโดยแช่เปลือกถั่วลิสงลงในสารละลายคลอโรฟิลล์ เอ เป็นเวลา 4 ชม. ที่อุณหภูมิห้อง ซึ่ง Hg2+ จะเข้าไปแทนที่ Mg2+ ในโครงสร้างของคลอโรฟิลล์ เอ จากนั้นนำเปลือกถั่วลิสงที่ผ่านการปรับโครงสร้างด้วยKOH และคลอโรฟิลล์ เอ แช่ในสารละลายปรอท จากนั้นนำมาเป็นปุ๋ยเพื่อทดสอบและศึกษาผลของปรอทที่ปนเปื้อนเข้าสู่ระบบนิเวศ โดยใช้ต้นพริกขี้นกเป็นพืชในการศึกษา พบว่าต้นที่ให้ปุ๋ยด้วยเปลือกถั่วลิสงที่ผ่านการปรับโครงสร้างด้วยKOH และผ่านการดูดซับปรอทส่งผลให้ใบเหี่ยว แห้ง ทั่วทั้งใบ ผลมีรูปร่างบิดเบี้ยว เละ แต่เปลือกถั่วลิสงที่ผ่านการปรับโครงสร้างด้วยKOH และคลอโรฟิลล์ เอ ที่ผ่านการดูดซับปรอทส่งผลรุนแรงน้อยกว่าทั้งใบและผลซึ่งเป็นผลมาจากที่คลอโรฟิลล์ เอ ดูดซับปรอทเข้าไปในโครงสร้างและเนื่องจากคลอโรฟิลล์ เอ ไม่ละลายในน้ำจึงอยู่แค่ในเปลือกถั่วไม่ปนเปื้อนมาสู่ระบบนิเวศ และเมืื่อนำตัวดูดซับวิเคราะห์ด้วย FTIR และ SEM พบสเปกตรัมของคลอโรฟิลล์ เอ มาตรฐานบนตัวดูดซับเปลือกถั่วที่แช่ในสารละลายคลอโรฟิลล์ เอ และโครงสร้างพื้นผิวของเปลือกถั่งหลังปรับแต่งด้วย KOH มีการเรียงตัวของลิกนินเป็นระเบียบมากขึ้น และเกิดรูพรุนเหมาะแก่การเป็นตัวรองรับสำหรับปรับแต่งด้วยคลอโรฟิลล์ เอ