ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการต่อสู้ของด้วงกว่าง

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

มนฐ์สิชา วงษ์เวียงจันทร์, พิมพ์ชนก เจริญนุช, ธมลวรรณ เฟื่องฟุ้ง

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

คณิตา สุขเจริญ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2560

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

พฤติกรรมการต่อสู้กันของแมลงอาจเกิดจากปัจจัยหลายๆอย่าง ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยที่เรากระตุ้น หรือปัจจัยที่เกิดตามธรรมชาติ พฤติกรรมการต่อสู้ของแมลงจะมีรูปแบบที่แตกต่างกันตามชนิดของแมลง ในวงศ์ด้วงกว่าง กว่างชนเป็นกว่างที่นิยมนำมาชนกันเพื่อความเพลิดเพลินและเป็นประเพณีที่ทางภาคเหนือให้ความสนใจ ด้วงกว่างชนหรือกว่างโซ้ง(Xylotrupes gidron) อยู่ในวงศ์ Dynastinae ลำตัวมีสีน้ำตาลอมแดงจนถึงเกือบดำ มีเขาหนึ่งคู่บริเวณอกและหัว เขาบริเวณอกยื่นยาวออกเป็นจะงอยยาวเรียวไปด้านหน้าและโค้งลงบริเวณปลายเขาแยกเป็นสองแฉก เขาที่บริเวณหัวจะมีขนาดเล็กยื่นออกและโค้งขึ้นบริเวณปลายเขาแยกออกเป็นสองแฉก เพศเมียไม่มีเขาและมีขนาดตัวที่เล็กกว่า กว่างชนเพศผู้จะใช้เขาในการต่อสู้ กว่างชนจะออกหากินในเวลากลางคืนละกินพืชบางชนิดเป็นอาหาร เช่นมะพร้าวและอ้อย ในปัจจุบันมีอาหารรูปแบบใหม่ในการเลี้ยงด้วงคือเยลลี่เนื่องจากหาซื้อได้ง่ายและเก็บได้นานกว่าอาหารพวกอ้อยและกล้วย โดยทั่วไปแล้วด้วงเพศผู้จะต่อสู้กันเพื่อแย่งเพศเมียโดยด้วงเพศผู้จะได้กลิ่นฟีโรโมนจากด้วงเพศเมีย จากทฤษฎีกล่าวไว้ว่าฟีโรโมนจะดึงดูดในสปีชีส์เดียวกันเท่านั้น ดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงศึกษาว่าถ้าให้ กล้วย เยลลี่และอ้อย อย่างไหนจะทำให้ด้วงกว่างชนมีพลังงานในการต่อสู้เพื่อแย่งเพศเมียได้มากที่สุด