การศึกษาประสิทธิภาพของคอลัมน์ที่ได้จากวัสดุธรรมชาติในการดูดซับทองแดงในน้ำเสีย
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
อรศิริ สาโรวาท, ชนันธร อาสน์สิริ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
โกเมน ปาปะโถ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานเรื่อง การศึกษาประสิทธิภาพของการกรองแบบคอลัมน์ที่ได้จากวัสดุธรรมชาติในการดูดซับทองแดงในน้ำเสีย มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการดูดซับไอออนของทองแดงในน้ำเสียด้วยวัสดุจากธรรมชาติ โดยวัสดุที่ใช้ในการดูดซับ คือ แกลบ ขี้เถ้าแกลบดำ และถ่านไม้ยางพารา และการกรองแบบคอลัมน์ โดยเรียงจากลำดับการกรองจากบนลงล่างคือ ถ่านไม้ยางพารา ขี้เถ้าแกลบดำ และแกลบ ตามลำดับ โดยใช้น้ำเสียสังเคราะห์จากสารละลายคอปเปอร์(II)ซัลเฟต ที่ความเข้มข้น 2000 ppm จากนั้นสารละลายที่เตรียมได้มากรองผ่านวัสดุ แล้ววัดประสิทธิภาพในการดูดซับไอออนของทองแดงที่ผ่านการกรองด้วยความสัมพันธ์ของความเข้มข้นของสารละลายและการนำไฟฟ้าของสารละลาย ซึ่งวัดการนำไฟฟ้าด้วยเครื่องวัดการนำไฟฟ้ายี่ห้อ Vernier รุ่น Labquest และวัดอัตราการไหลของสารละลายที่ไหลผ่านวัสดุ ซึ่งได้แบ่งการทดลองออกเป็น 3 ส่วน คือ 1) การหาสมการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างการนำไฟฟ้าและความเข้มข้นของสารละลายคอปเปอร์(II)ซัลเฟต 2) การทดสอบประสิทธิภาพการดูดซับไอออนของทองแดงจากแกลบ ขี้เถ้าแกลบดำ และ ถ่านไม้ยางพารา และ 3) การทดสอบประสิทธิภาพการดูดซับไอออนของทองแดงจากคอลัมน์โดยเรียงจากลำดับการกรองจากบนลงล่างคือ ถ่านไม้ยางพารา ขี้เถ้าแกลบดำ และแกลบ ตามลำดับ จากการทดลองพบว่า สมการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างการนำไฟฟ้าและความเข้มข้นของสารละลายทองแดงคือ y = 10.292e0.0352x เมื่อ x คือ ค่าการนำไฟฟ้าของสารละลาย (µS/cm) และ y คือ ค่าความเข้มข้นของสารละลายคอปเปอร์(II)ซัลเฟต (ppm) โดยวัสดุที่มีประสิทธิภาพในการดูดซับไอออนของทองแดงมากที่สุดคือ ถ่านไม้ยางพารา ซึ่งดูดซับได้ 31.30 ppm คิดเป็นร้อยละ 1.57 รองลงมาคือ ขี้เถ้าแกลบดำ และแกลบ ตามลำดับ ซึ่งเมื่อนำมาวัสดุทั้ง 3 ชนิดมาเรียงเป็นคอลัมน์ โดยเรียงจากลำดับการกรองจากบนลงล่างคือ ถ่านไม้ยางพารา ขี้เถ้าแกลบดำ และแกลบ ตามลำดับ พบว่าสามารถดูดซับไอออนของทองแดงได้ 80.86 ppm คิดเป็นร้อยละ 4.04 โดยอัตราการไหลของน้ำเสียเท่ากับ 121 มิลลิลิตรต่อนาที