การศึกษาคุณสมบัติกระดาษจากเส้นใยเซลลูโลสของธูปฤาษีเพื่อใช้ในการขึ้นรูปบรรจุภัณฑ์

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

เปมิศา พานกุหลาบ, นครินทร์ ขุนสนิท, ปัญญาพร เจริญงามวงศ์วาน

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

วรรณนภา ธุววิทย์, พรพิมล ทดทะศรี

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนอ่างทองปัทมโรจน์วิทยาคม

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2565

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การจัดทําโครงงานมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความเข้มข้นที่เหมาะสมต่อการเตรียมเซลลูโลสจาก ธูปฤาษี (2) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบคุณสมบัติของกระดาษจากเนื้อเยื่อเซลลูโลสของธูปฤาษีเพื่อนําไปเคลือบ ไคโตซาน (3) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของกระดาษจากเนื้อเยื่อเซลลูโลสจากธูปฤาษีที่เคลือบด้วยไคโตซาน ดําเนินการโดย นําส่วนโคนของต้นธูปฤาษีมาล้าง และอบให้แห้ง จากนั้นนําไปบด นําเส้นใยฟอกด้วย H2O2 ที่ความเข้มข้น 5% และ 10% นาน 2 ชั่วโมง จากนั้นนําไปให้ความร้อนกับ NaOH 0.5 และ 1 M นาน 1 ชั่วโมง 30 นาที ธูปฤาษีที่ฟอกด้วย H2O2 10% มีน้ําหนักเฉลี่ยหลังการฟอกน้อยกว่า H2O2 5% และเยื่อ กระดาษที่ได้จากการฟอกธูปฤาษีด้วยH2O2 10% ต้มด้วย NaOH 0.5 M และ 1 M ทําให้ได้เยื่อที่มีขนาดเล็ก กว่าที่ได้จากการฟอกธูปฤาษีด้วย H2O2 5% ต้มด้วย NaOH 0.5 M และ 1 M เนื่องจากการต้มเส้นใยด้วย H2O2 ท่ีมีความเข้มข้นสูงข้ึน ทําให้ปริมาณเยื่อลดลง เมื่อนําเยื่อท่ีได้มากระจายออกจากกันภายในตะแกรงท่ีแช่ น้ํา ยกขึ้นแล้วนําฟองน้ํามากดน้ําออก อบให้แห้ง พบว่ากระดาษที่ได้มีลักษณะเป็นแผ่นสีน้ําตาลอ่อน นํามาวัด ความหนาและหาค่าเฉลี่ย จากน้ันหาค่าการดูดซับน้ํา โดยนําแผ่นกระดาษขนาด 5×5 cm2 ไปจุ่มลงในน้ํา เป็น เวลา 2 นาที แล้ววางลงบนกระดาษ นําไปชั่งและคํานวณหาค่าการดูดซึมน้ํา พบว่ากระดาษที่แช่ด้วย H2O2 5% ต้มด้วย NaOH 0.5 M กระจายเยื่อด้วย Al2(SO4)3 มีค่าเฉลี่ยการดูดซับน้ําน้อยที่สุด เท่ากับ 1.85×10-4 g/mm2 และกระดาษที่แช่ด้วย H2O2 10% แล้วต้มด้วย NaOH 1 M มีค่าเฉลี่ยการดูดซับน้ํามากที่สุด ซึ่งมีค่า เท่ากับ 2.33×10-4 g/ mm2 จากนั้นพักกระดาษไว้จนแห้ง นําไปเคลือบไคโตซานที่ความเข้มข้นร้อยละ 0.2 , 0.4 และ 0.6 ปริมาตร 20 มิลลิลิตร แล้วนําแผ่นเยื่อกระดาษขนาด 5×5 cm2 จุ่มลงในสารละลาย เป็นเวลา 2 นาที เเล้วคีบออกจากนั้นพักให้แห้ง พบว่ากระดาษที่เคลือบด้วยไคโตซาน มีลักษณะทางกายภาพ คือ มีพื้นผิวที่ค่อนข้างเรียบ และมีสีที่ไม่แตกต่างไปจากตอนก่อนเคลือบ นําไปชั่งเพื่อหาน้ําหนักเฉลี่ย และบันทึก ผล จากนั้นนําไปทดสอบหาค่าการดูดซับน้ํา พบว่ากระดาษที่แช่ด้วย H2O2 5% แล้วต้มด้วย NaOH 0.5 M กระจายเยื่อด้วย Al2(SO4)3 พบว่ากระดาษจากธูปฤาษีท่ีเคลือบความเข้มข้นร้อยละ 0.4 และ 0.6 มีค่าการดูด ซับน้ําท่ีใกล้เคียงกัน จึงเลือกใช้การเคลือบไคโตซานที่ความเข้มข้นร้อยละ 0.4

คําสําคัญ : ธูปฤาษี, สารกระจายเยื่อ, บรรจุภัณฑ์, ไคโตซาน, อะลูมิเนียมซัลเฟต