ศึกษาการฟอกฆ่าเชื้อที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อไม้สักทองโดยใช้ต้นทุนต่ำเพื่ออนุรักษ์และขยายพันธ์ให้กับชุมชน
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
นรินธร ยางงาม, ปรเมศร์ หวังอ้อมกลาง, รพีพัฒน์ เภาสระคู
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
กัลยาณี วัฒนธีรางกูร
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การศึกษาการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อการขยายพันธุ์ไม้สักทอง การฟอกฆ่าเชื้อเป็นเทคนิคที่ทำให้ปลอดเชื้อและมีความสำคัญกับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ดังนั้นในโครงงานนี้จึงได้เปรียบเทียบเทคนิคการฟอกฆ่าเชื้อ และได้ศึกษาชนิดและความเข้มข้นของสารฆ่าเชื้อที่เหมาะสม ในการทำให้อาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชมีสภาพปลอดเชื้อ ทำการศึกษาการเจริญของพันธุ์ไม้สักในอาหารสูตร MS ที่ฆ่าเชื้อด้วย เบตาดีน (Batadine) หรือ ไฮเตอร์ ความเข้มข้น ต่างกันและติดตามผลรายสัปดาห์ แล้วศึกษาว่าทำให้มีการเจริญเติบโตของยอดดีที่สุดที่ พิจารณาความ สูงของยอดพันธุ์ไม้สัก หาความสูงของยอดเฉลี่ยแล้วเปรียบเทียบการใช้ไฮเตอร์กับเบตาดีน ในอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพันธุ์ไม้สัก สามารถทดแทนการฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่งความดันไอน้ำซึ่งเป็นวิธีการที่มี ต้นทุนสูง เพื่อระบบการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อต้นทุนต่ำจะสามารถเป็นทางเลือกให้แก่เกษตรกรและผู้สนใจนำไปประยุกต์ใช้ในระดับครัวเรือนได้