ศึกษาการสังเคราะห์ซีโอไลต์จากเถ้าแกลบเพื่อเป็นวัสดุดูดซับกลิ่นไม่พึงประสงค์ของสัตว์เลี้ยง

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ณิชชานันท์ ปัดตาชารี, สิรวิชญ์ ศรีมหาพรหม

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

สุริยา กล้วยดี, วัชราภรณ์ แสนนา

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2565

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการทำทรายแมวดูดซับกลิ่นไม่พึงประสงค์จากโอไลต์ที่สกัดได้จากเถ้าแกลบ การผลิตแร่ในปัจจุบันส่วนมากมาจาก Bentonite ซึ่งจะส่งผลเสียต่อสุขภาพของแมวและผู้เลี้ยงในระยะยาวดังนั้นเราจึงคิดค้นทรายแมวที่ได้จากวัสดุธรรมชาติสามารถกำจัดได้โดยการใช้เป็นวัสดุบำรุงดิน เนื่องจากซีโอไลต์มีรูพรุนสูงสามารถกักเก็บแร่ธาตุได้ดี โดยมีการสกัดซิลิกาจากเถ้าแกลบวิเคราะห์ซิลิกาด้วยเทคนิค FT-I และนำมาสังเคราะห์ซีโอไลต์ วิเคราะห์ซีโอไลต์ที่สังเคราะห์ได้โดยใช้เครื่อง Surface area and porosity analyzer เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์พื้นผิวด้วยเทคนิคการวัดการดูดซับของไนโตรเจนโดยอาศัยหลักการวิธีของ Brunauer-Emmett-Teller (BET)จากนั้นนำซีโอไลต์ไปขึ้นรูปทรายแมวด้วยแม่พิมพ์ที่ออกแบบด้วยเครื่อง Print 3D โดยใช้โปรแกรม solid work และวิเคราะห์ประสิทธิภาพดูดซับกลิ่นด้วยเทคนิค gas chromatography (GC) โครงงานนี้ทำให้ได้วัสดุดูดซับที่มีประสิทธิภาพ ช่วยขจัดกลิ่นรบกวนที่ไม่พึงประสงค์ให้กับกลุ่มผู้เลี้ยงแมวและเป็นการนำวัสดุที่เหลือใช้ทางการเกษตรมาเพิ่มมูลค่า ต่อยอดสู่การผลิตวัสดุดูดซับทางเลือกอื่นๆ