การศึกษาความต้านทานของหนอนไหมพันธุ์พื้นเมืองต่อโรคแอสเปอร์จิลลัส
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
สุภัสสรา โสมา, เอกราช บุญปลูก, ฐิติพร สุขสอน
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ประภา สมสุข
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ผ้าไหมไทยจัดว่าเป็นผ้าไหมที่ได้รับการยอมรับว่ามีคุณภาพมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และ เป็นที่นิยม
เนื่องจากเป็นผ้าไหมทอมือที่มีเอกลักษณ์ต่างจากผ้าทั่วไป กล่าวคือเมื่อมองดูที่เนื้อผ้าจะมีความงามเป็น ประกายท
าให้สีสันสวยงามแสดงถึงความมีรสนิยมของผู้สวมใส่ ท าให้มีกลุ่มผู้ออกแบบ เสื้อผ้าแฟชั่นให้ความ สนใจในการน าผ้า
ไหมทอมือไปผลิตเป็นเสื้อสวมใส่ในงานแฟชั่นต่าง ๆ จนท าให้เป็นที่รู้จักและโด่งดังทั่วโลก เป็นการยกระดับผ้าไหมทอ
มือของประเทศไทย ท าให้ส่งผลต่อคุณภาพ ชีวิตของผู้ผลิตตั้งแต่กระบวนการเลี้ยง ไหม เก็บไหม แปรรูปและทอเป็น
ผืนผ้าลวดลายต่าง ๆ ซึ่งจะ แตกต่างกันไปตามแต่ละชุมชน ในกระบวนการถัก ทอผ้าไหมนั้น หลังจากขั้นตอนการสาว
ไหมที่ชาวบ้านจะท าการสาวไหมโดยการแยก เปลือกรังชั้นนอกและ ชั้นใน ท าให้ได้เส้นไหมหลืบหรือไหมเปลือกเป็น
เส้นไหมที่ได้จากรังไหมชั้นนอก รวมทั้งปุย ไหม ซึ่งเส้นไหมหลืบ นั้นจะยังคงมีส่วนของสาร Sericin คือส่วนของโปรตีน
กาวไหมทีเคลือบอยู่รอบๆเส้นไหม แท้ ( Fibroin) นอกจากนี้ผลผลิตจากไหมยังน ามาประยุกต์ใช้ในด้านการผลิต
เครื่องส าอาง เวชภัณฑ์ทางยา และอาหารเสริม ได้อีกด้วย ซึ่งเส้นไหมที่ได้ก็ได้จากหนอนไหม มีการเลี้ยงมากเป็นส่วน
ใหญ่อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือเนื่องจากมีภูมิประเทศที่เหมาะสมกับการเลี้ยงซึ่งอยู่ในเขตร้อนชื้น มีอากาศร้อน
อยู่เกือบตลอดเวลา จึงท าให้มีพันธุ์ไหมชนิดฟักออกตลอดปีตามธรรมชาติโดยเฉพาะจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศรีสะเกษ
และจังหวัด อุบลราชธานี ที่เป็นแหล่งเลี้ยงหนอนไหมพันธุ์พื้นเมืองจำนวนมาก กระบวนการเลี้ยงไหมค่อนข้างที่จะ
ซับซ้อน หลายขั้นตอนต้องใช้ความเอาใจใส่อย่างมากในการเลี้ยง เพราะไหมพันธุ์พื้นเมืองเป็นแหล่งวัตถุดิบสำคัญที่
สามารถให้เส้นใยเป็นเส้นไหม เพื่อน ามาใช้ทอเป็นผืนผ้าในการผลิตผ้าไหมไทยที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนไหมพันธุ์อื่นๆ
และสามารถนำไปใช้ในครอบครัวในชุมชนหรือส่งเข้าโรงงานอุตสาหกรรมไหมภายในประเทศจน กลายเป็นแหล่ง
เศรษฐกิจที่สำคัญจนได้รับความนิยมไปทั่วโลก แม้ว่าไหมพันธุ์พื้นเมืองสามารถเลี้ยงได้ตลอดปีตามธรรมชาติแต่ก็พบ
อุปสรรคที่สำคัญของการเพาะเลี้ยง ไหมพันธุ์พื้นเมือง คือ โรคไหม เป็นอุปสรรคที่ท าให้ในการเลี้ยงไหมไม่เฉพาะใน
ประเทศไทย ในต่างประเทศก็เคยพบว่า การเลี้ยงไหมต้องประสบกับความล้มเหลวเนื่องมาจากไหมเป็นโรค อาทิใน
ฝรั่งเศสปี1845 เกิดโรค ระบาดในไหม โรคนี้ระบาดไปทั่วประเทศในเวลา 5-6 ปีโรคนี้ระบาดรุนแรงมากจนทำให้
อาชีพการเลี้ยงไหม ต้องหยุดชะงัก สาเหตุของโรคไหมเกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต สภาพแวดล้อม พิษจากสารเคมีต่าง ๆ
2
คุณภาพและ ปริมาณใบหม่อน หรือการปฏิบัติอันท าให้เกิดบาดแผล และเกิดจากสิ่งมีชีวิต เชื้อจุลินทรีย์ต่างๆ เช่น
เชื้อรา แบคทีเรีย โปรโตซัว ไวรัส รวมถึงสัตว์อื่น ๆ เช่น แมลงวันลาย มด จิ้งจก ซึ่งสาเหตุที่สำคัญที่ท าให้เกิดโรค
แอสเปอร์จิลลัส คือ เชื้อรา (Aspergillus flavus Link, Aspergillus tamarii) เป็นเชื้อราที่ก่อโรคที่ร้ายแรง และทำ
ความเสียหายให้แก่หนอนไหมมาก เชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคพบแพร่กระจายอยู่ทั่ว ๆ ไปในอากาศ แพร่ ระบาดได้
รวดเร็วในช่วงฤดูฝน เชื้อนี้ยังสามารถเข้าท าลายหนอนไหมได้ทุกระยะและไหมวัยอ่อนเป็นวัยติดโรคนี้ ได้ง่ายที่สุด
ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของไหม คุณภาพผลผลิตของรังไหมที่จะน ามาท่อเป็นผ้าไหม ตลอดจนอุตสาหกรรม
ไหมเป็นอย่างมาก ท าให้เกษตรกรต้องเสียเวลา เสียค่าใช้จ่าย และแรงงานเลี้ยงหนอน ไหม นอกจากนี้ในการเลี้ยง
ไหมบางรุ่นเกษตรกรไม่ได้รับผลผลิตที่มากพอต้องความต้องการ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความ
ต้านทานของไหมพันธุ์พื้นบ้านในจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัด อุบลราชธานี คัดเลือกสายพันธ์ไหมที่
ต้านทาน หรืออ่อนแอต่อการเกิดโรคแอสเปอร์จิลลัส เพื่อเป็นข้อมูลในการแนะน าสายพันธุ์ไหมให้แก่เกษตรกรต่อไป
พร้อมทั้งน าข้อมูลนี้ไปใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ไหมให้ต้านทานต่อโรค แอสปอร์จิลลัสต่อไป