การศึกษาประสิทธิภาพขาเทียมแมวแบบ 3D Print จากวัสดุ Nylon PA12-CF ผสมคาร์บอนไฟเบอร์

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ยศธร วงษ์คลัง, วิชยุตม์ สกุลวิศัลย์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

พงษ์ศักดิ์ ไชยสุวรรณ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงาน การศึกษาประสิทธิภาพของขาเทียมแมวอัจฉริยะแบบ 3D Print เป็นการแก้ไขปัญหาและข้อจำกัดที่แมวที่สูญเสียขาหรือมีความพิการขาเกิดขึ้น จึงได้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาและทดสอบความประสิทธิภาพของขาเทียมแมว 2) เพื่อสร้างขาเทียมแมวช่วยเหลือแมวพิการขา 3) เพื่อส่งเสริมความเข้าใจแมวพิการขา โดยดำเนินการศึกษา ด้วยการปั้นหุ่นโมเดลขาเทียมแมวในโปรแกรม Blender ปริ้นต์หุ่นโมเดลออกมาผ่านเครื่อง 3D Printer ทำการเขียนโค้ดคำสั่งเพื่อรับค่าและสั่งการเข้าแอปพลิเคชัน LINE จากอุปกรณ์ 3 ชนิดคือ เซนเซอร์ตรวจจับความเอียง เซนเซอร์ตรวจจับความสั่น และ บอร์ด ESP8266 ถ้ามีการรับค่าของความเอียงและความสั่นเกินกว่าเกณฑ์ที่เราได้ตั้งไว้ ให้แจ้งเตือนเข้าทางแอปพลิเคชัน LINE ว่า “Fall” จากนั้นนำอุปกรณ์ทั้งหมดไปติดตั้งบนหุ่นขาเทียมแมวที่ได้ปริ้นต์ไว้เรียบร้อย พร้อมกับนำสายรัดไปสอดเข้าช่องของตัวหุ่นแล้วนำไปพันรอบกับตัวแมวที่มีความพิการของขา และทำการศึกษาค่าของความสั่นและความเอียงของขาเทียมแมวในช่วงเวลาต่างๆ

ผลการทดลองพบว่าพบว่าประมาณร้อยละ 90% มีค่าความสั่นเฉลี่ยของขาเทียมแมวอัจฉริยะในแต่ละช่วงเวลามีค่าเฉลี่ยที่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ โดยเกณฑ์ที่ตั้งไว้ของค่าความสั่นของขาเทียมแมวที่ให้แจ้งเตือนอยู่ที่ 200 และ ประมาณร้อยละ 78% ค่าความเอียงของขาเทียมแมวอัจฉริยะในแต่ละช่วงเวลาประมวลผลจากเซนเซอร์ตรวจจับความเอียงแสดงค่าออกมาคือ 0 โดยอุปกรณ์สามารถใช้งานได้จริงอุปกรณ์สามารถรับค่าเอียงและการสั่นสะเทือนได้