การศึกษาประสิทธิภาพของแผ่นฟิล์มปิดแผลที่มีส่วนประกอบของสารสกัดแซนโทน (Xanthone) ที่มีผลต่อการลดลงจำนวนของเชื้อ Staphylococcus aureus
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
พิมพ์ชนก ชมชิต, ศิวลักษณ์ กลุ่มกลาง
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ยุวดี สุวรรณ์, ศรีวิกาญจน์ กรุมรัมย์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพแผ่นฟิล์มปิดแผลที่มีส่วนประกอบของสารสกัดแซนโทนในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคเนื้อเน่า และศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติของสารแซนโทนและอนุพันธ์ของสารแซนโทนที่อยู่ภายในเปลือกมังคุด โดย ใช้ตัวทำละลาย คือ เอทานอล 95% นำมาขึ้นรูปแผ่นฟิล์มโดยใช้คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสจากฟางข้าว และการ
ศึกษาฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ของสารสกัดแซนโทน ใช้วิธี Disc diffusion techniques โดยการนำสารสกัดแซนโทนที่ได้ผสมกับน้ำกลั่น สารละลายคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส และกลีเซอรอล จากนั้นนำไปอบที่อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส จากนั้นนำไปวิเคราะห์คุณสมบัติของแผ่นฟิล์มโดยวัดความหนา ความสามารถในการละลายน้ำ การวัดค่าสีและความโปร่งใสและคุณสมบัติเชิงกล และนำไปประเมินการต้านจุลินทรีย์ของฟิล์ม พบว่าแผ่นฟิล์มปิดแผลที่มีส่วนประกอบของสารสกัดแซนโทนสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้โดยสามารถยับยั้งได้ดีที่สุดคือ แผ่นฟิล์มที่มีส่วนผสมของสารแซนโทน 0.05 กรัม โดยสังเกตจาก Clear zone ที่วัดได้ โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 11.82 มิลลิเมตร