แบบจำลองการเคลื่อนที่ของลูกวอลเลย์บอลเพื่อเปรียบเทียบแรงที่เป็นฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ที่เหมาะสมในการตบลูกวอลเลย์บอลให้ตกลงในแดนของฝั่งตรงข้าม
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
สิริกร เลาหไทยมงคล, กัลยกร เลาหไทยมงคล
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
กาเหว่า พรมชาติ, อาทิตย์ หู้เต็ม
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ในปัจจุบัน กีฬาวอลเลย์บอลถือได้ว่าเป็นกีฬาที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากมีการจัดการแข่งขันทั้งภายในประเทศ และในต่างประเทศทั่วโลก ดังที่ พิชิต ภูติจันทร์ (2535) ได้กล่าวว่ากีฬาวอลเลย์บอลเป็นกีฬายอดนิยมประเภทหนึ่ง ซึ่งมีผู้นิยมเล่นในทุกประเทศทั่วโลก ได้มีการบรรจุในการแข่งขันระดับต่างๆ มากมาย เช่น การแข่งขันชิงแชมป์โลก (World Championship) โอลิมปิกเกมส์ (Olympic Games) เอเชียนเกมส์ (Asian Games) และ ซีเกมส์ (Sea Games)
ผู้จัดทำจึงมีแนวคิดที่จะศึกษาการเคลื่อนที่ของลูกวอลเลย์บอล เพื่อคำนวณหาแรงที่ใช้ในการตบลูกวอลเลย์บอลของนักกีฬา ( Pouya Jalilian et.al , 2014 ; Julian Ricardo ,2014 ) โดยใช้คณิตศาสตร์ เรื่องสมการเชิงอนุพันธ์ และ integrate by parts (Robert L. Zimmerman and fredick 1. Olness, 2002) และฟิสิกส์เรื่อง กฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 2 ของนิวตัน มาใช้สร้างแบบจำลองของแรงที่เป็นฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ชนิดต่างๆ ได้แก่ ระหว่างแรงที่เป็นฟังก์ชันพหุนาม แรงที่เป็นฟังก์ชันพหุนามดีกรีกำลังสอง แรงที่เป็นฟังก์ชันตรีโกณมิติ แรงที่เป็นฟังก์ชัน logarithm แรงที่เป็นฟังก์ชัน exponential และพหุนาม และ แรงที่เป็นฟังก์ชัน exponential ตรีโกณมิติ และพหุนาม แล้วนำมาเปรียบเทียบกันเพื่อหาแรงที่เหมาะสมที่สุดที่ใช้ในการตบลูกวอลเลย์บอลให้ตกลงในแดนของฝั่งตรงข้าม โดยใช้ Program mathematics plot การกระจัด แกน x และแกน y เพื่อดูลักษณะการเคลื่อนที่ของลูกวอลเลย์บอลที่เคลื่อนที่ด้วยแรงชนิดต่างๆ โดยมี β และ t