แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ศึกษาความสัมพันธ์ของการเจริญเติบโตของเชื้อราในขนมปังกับปริมาณเดกโทรสและความสัมพันธ์ของการเจริญเติบโตของเชื้อราในขนมปังกับสารยับยั้งเชื้อราจากน้ำกระเทียม
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ชยพล พรหมเอาะ, พรภิชา ขาวนวล
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ทวีศักดิ์ เปี่ยมทัพ, อังษณานันท์ อินทรชัย
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ขนมปังเป็นอาหารที่เกิดเชื้อราได้ง่าย เชื้อราสีดำที่เจริญเติบโตในขนมปังได้ดีในบริเวณที่มีอุณหภูมิและความชื้นสูงทำให้ขนมปังเกิดการเน่าเสีย อาหารเลี้ยงเชื้อที่นิยมใช้คือ Potato dextrose agar ซึ่งมีส่วนประกอบคือ มันฝรั่ง เดกโทรส และวุ้น เดกโทรสหรือน้ำตาลกลูโครสเป็นตัวแปรสำคัญที่อยู่ในอาหาร เนื่องจากเดกโทรสเป็นน้ำตาลที่มีโครงสร้างไม่ซับซ้อน เชื้อราจึงสามารถนำเดกโทรสไปใช้ในการสร้างพลังงานได้ง่าย การที่ขนมปังเป็นอาหารที่เน่าเสียและเกิดเชื้อราได้ง่าย ในธรรมชาติมีสารที่สามารถยับยั้งเชื้อรา เช่น สารอัลลิซินที่มีอยู่ในกระเทียม มีการรายงานครั้งแรกเกี่ยวกับอัลลิซินในปี 1994 โดย Cavallito และ Bailey ว่าสารอัลลิซินมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราได้หลายชนิด และจากการศึกษางานวิจัยเรื่องการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา Aspergillus fl flavus และลดปริมาณสารแอฟลาทอกซินโดยสารออกฤทธิ์จากกระเทียมพบว่าความเข้มข้นของน้ำคั้นกระเทียม 2.50, 5.00 และ 10.00% ไม่พบการงอกของสปอร์ แสดงว่าความเข้มข้นของน้ำคั้นกระเทียมตั้งแต่ 2.5% ขึ้นไป มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการงอกของสปอร์เชื้อรา A.flavus ได้สมบูรณ์
จากเหตุผลดังกล่าว ทำให้ผู้ศึกษาเกิดแนวคิดที่จะศึกษาการเจริญเติบโตของเชื้อราในขนมปังที่ได้รับอาหารที่มีปริมาณของเดกโทรสแตกต่างกันและศึกษาการเจริญเติบโตของเชื้อราในขนมปังที่ได้รับอาหารที่มีปริมาณเดกโทรสเท่ากันแต่ได้รับสารยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราจากกระเทียมในความเข้มข้นที่แตกต่างกัน จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของการเจริญเติบโตของเชื้อราในขนมปังในรูปแบบของกราฟเพื่อใช้ในการทำนายการเจริญเติบโตของเชื้อราในขนมปัง การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์นั้น จะมีสองรูปแบบซึ่งสร้างจากข้อมูลของการเจริญเติบโตของเชื้อราที่ได้รับอาหารที่มีปริมาณเดกโทรสต่างกันและข้อมูลการเจริญเติบโตของเชื้อราที่ได้รับสารยับยั้งการเจริญเติบโตที่ความเข้มข้นต่างกัน