การเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียบนผิวสัมผัสของดอกจำปี ดอกสายหยุด และดอกพิกุล
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
อิงฟ้า มณีโชติ, ปทิตตา ส่องแก้ว, สุพัตรา การประกอบ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
หนึ่งฤทัย ชัยมณี
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 ที่ได้ระบาดไปทั่วโลกและมีการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นในแต่ละวัน กระทรวงสาธารณสุขจึงกำหนดให้โรคไวรัสโคโรนา 2019 หรือ Covid-19 เป็นโรคติดต่ออันตรายลำดับที่ 15 ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ ซึ่งสาเหตุของโรคมาจากการสัมผัสและการแพร่เชื้อผ่านละอองฝอยขนาดเล็ก ทางผู้วิจัยจึงได้ศึกษาดอกไม้ 3 ชนิด ได้แก่ดอกสายหยุด ดอกจำปี และดอกพิกุล พบว่า ในดอกไม้ทั้ง 3 ชนิด มีสารลินาลูล(Linaloo)ที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียบนผิวสัมผัสได้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารสกัดดอกสายหยุด ดอกจำปี ดอกพิกุล ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียบนผิวสัมผัสที่ก่อให้เกิดโรค นำดอกไม้ทั้ง 3 ชนิด มาสกัดให้เป็นน้ำมันหอมระเหย โดยใช้เอทานอล95% เป็นตัวทำละลาย จากนั้นระเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่องกลั่นระเหยแบบหมุน ทำการคัดแยกเชื้อแบคทีเรียบนผิวสัมผัสจากฝ่ามือของกลุ่มตัวอย่างและทำการแยกเชื้อบริสุทธิ์ด้วยวิธีการ Streak plate นำน้ำมันหอมระเหยมาทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียบนผิวสัมผัส ด้วยวิธี Agar disk diffusion test สามารถผลการทดลองนำไปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ครีมทามือที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย