การศึกษาสภาพแวดล้อม สูตรอาหาร และแสงสีที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของกุ้งก้ามแดง Cherax quadicarinatus
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ธนาภา สิงห์ประสาทพร, กานต์ธิดา โพธิดอกไม้, ปาณิศา ศรีภูวงศ์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
นรินทร รัตนทา
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การทดลองเรื่อง การศึกษาสภาพแวดล้อม สูตรอาหาร และแสงสีที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของกุ้งก้ามแดง Cherax quadicarinatus
วิธีการดำเนินการศึกษาแบ่งเป็น 6 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 การทดลองวัสดุรองพื้น, ตอนที่ 2 การทดลองพืชลอยน้ำ, ตอนที่ 3 การทดลองสูตรอาหาร, ตอนที่ 4 การทดลองไฟ LED, ตอนที่ 5 การทดลองที่หลบภัย และตอนที่ 6 การทดลองสีของภาชนะที่ใช้เลี้ยง โดยในการทดลองตอนที่ 1 ใช้วัสดุรองพื้นที่แตกต่างกัน 5 ชนิด ได้แก่ พลาสติก ปูนซีเมนต์ ทรายทะเล หินเกล็ดนิล และดินเหนียว ในการทดลองตอนที่ 2 ใช้พืชลอยน้ำที่แตกต่างกัน 3 ชนิด ได้แก่ จอก แหน และสาหร่าย ในการทดลองตอนที่ 3 ใช้พืชที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นที่แตกต่างกัน 3 ชนิด ในการทดลองตอนที่ 4 ใช้ไฟ LED สีแดงและสีน้ำเงิน ในการทดลองตอนที่ 5 ใช้ที่หลบภัยที่แตกต่างกัน 3 แบบ ได้แก่ ท่อ PVC และที่หลบภัยรูปแบบอื่นอีก 1 ชนิด ในการทดลองตอนที่ 6 ใช้ภาชนะที่แตกต่างกัน 3 ชนิด ได้แก่ พลาสติก ปูนซีเมนต์ และดินเผา วางแผนการทดลองในขั้นตอนที่ 1, 2, 4, 5 และ 6 โดยคำนวณอัตราการเจริญเติบโตของกุ้งก้ามแดงโดยใช้ค่าเฉลี่ยของน้ำหนัก และความยาว วัดค่าสีของกุ้งโดยใช้ค่าสีแดง เขียว น้ำเงิน (RGB) และคำนวณอัตราการรอดตายของกุ้งก้ามแดง และในขั้นตอนการทดลองที่ 3 วางแผนการทดลองโดยคำนวณอัตราการเจริญเติบโตของกุ้งก้ามแดงโดยใช้ค่าเฉลี่ยของน้ำหนัก และความยาว อัตราการแลกเนื้อ (FCR) และคำนวณอัตราการรอดตายของกุ้งก้ามแดง