การศึกษาระบบรองปลูกพืชในพื้นที่แล้งโดยใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
จารุรินทร์ จันทร์สม, สุชาดา วิสูงเล, สุชญา เค้าแคน
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
นรินทร รัตนทา
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาระบบรองปลูกพืชของวัสดุธรรมชาติที่เหลือใช้ทางการเกษตรที่ใช้โดยใช้ต้นกล้วย แนวคิดมาจากต้นกล้วยเป็นพืชที่ส่วนลำต้นมีน้ำเป็นส่วนประกอบเป็นส่วนมากประมาณร้อยละ 95 และมีคุณค่าทางสารอาหาร ถือว่าทำให้พืชเจริญเติบโตได้ในการทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาคุณสมบัติของวัสดุธรรมชาติที่เหลือใช้ทางการเกษตรที่ใช้รองปลูกพืชในพื้นที่แล้ง โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 4 ชุดการทดลอง คือ ตัวดูดซับความชื้นต่อปริมาณความชื้น ปุ๋ยธรรมชาติต่อปริมาณ NPK ตัวปกคลุมหน้าดินต่อปริมาณความชื้น ระบบรองปลูกพืชต่ออัตราการเจริญเติบโตของพืช
ทำการทดลองโดยศึกษาคุณสมบัติของวัสดุที่ใช้รองปลูกพืชในพื้นที่แล้ง ดำเนินการทดลองโดย ตอนที่ 1 หาตัวดูดซับความชื้นต่อปริมาณความชื้น โดยนำตัวดูดซับความชื้น 5 ชนิดมาทำการหั่นวัสดุให้ขนาดใกล้เคียงกันและชั่งวัสดุปริมาณละ 40 กรัม จากนั้นนำไปแช่น้ำและชั่งเมื่อเวลาผ่านไป 10,20,30,40 นาที ตอนที่ 2 ปุ๋ยธรรมชาติต่อปริมาณ NPK โดยนำปุ๋ยธรรมชาติทั้ง 5 ชนิด มาทดสอบกับชุดตรวจ NPK ตอนที่ 3 ตัวปกคลุมหน้าดินต่อปริมาณความชื้น โดยนำตัวปกคลุมหน้าดินทั้ง 5 ชนิด มาทำการหั่นวัสดุให้ขนาดใกล้เคียงกันและชั่งวัสดุปริมาณละ 40 กรัม แล้วนำไปแช่น้ำและชั่งน้ำหนักหลังจากเวลาผ่านไป 10,20,30,40 นาที จากนั้นนำมาทดลองหาระบบปลูกที่มีประสิทธิภาพที่ดีที่สุดที่สามารถทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้