ผลของน้ำหมักผักบุ้งและเศษอาหาร ต่อการเจริญเติบโตของต้นคาวตอง

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

นพรัตน์ กองมะเริง, จิราพงศ์ สุขศรี, ธีรธร อุ่นใจ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ถวิล วรรณวงศ์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2565

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ผักคาวตองมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Houttuynia cordata Thunb. เป็นพืชสมุนไพรที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในประเทศจีนและญี่ปุ่น โดยนำมาใช้เป็นน้ำดื่มเพื่อสุขภาพ มีปริมาณการใช้มากถึง 650 ตันต่อไร่ (ปราณี, 2547 ; ปพน, 2553) สำหรับในประเทศไทยงานวิจัยค้นคว้าด้านสรรพคุณทางการแพทย์มีการศึกษากัน อย่างมากมาย อย่างไรก็ตามงานวิจัยเกี่ยวกับการปลูกผักคาวตองยังมีการศึกษากันน้อยมาก แต่เดิมการปลูกผัก คาวตองมีการปลูกกันไม่มากนัก และจำกัดอยู่ในพื้นที่ทางภาคเหนือ จัดว่าเป็นพืชล้มลุก และเป็นพืชตระกูล เดียวกับพลู คือ Saururaccae ชอบขึ้นตามที่ชื้นแฉะ มักปลูกไว้เป็นยาและอาหาร ในปัจจุบันความต้องการผัก คาวตองเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการทำสมุนไพรมีมากขึ้นและมีการรับซื้อผักคาวตองกันอย่างแพร่หลายและได้ราคา ดี จึงทำให้เกษตรกรหันมาปลูกผักคาวตองกันมากขึ้น เมื่อพื้นที่การปลูกมากขึ้น การจัดการและการดูแลรักษา และการเอาใจใส่ของเกษตรกรก็ต้องเพิ่มขึ้นด้วย แต่อย่างไรก็ตามผลผลิตของผักคาวตองยังอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำมาก ทั้งนี้ก็เพราะเกษตรกรยังขาดความรู้ และความเข้าใจในการจัดการผลิตผักคาวตองเป็นการค้า กล่าวคือ ในการ ผลิตผักคาวตองให้มีคุณภาพ และผลผลิตที่ดีนั้น การผลิตต้องเป็นแบบเกษตรอินทรีย์ ทั้งนี้ก็เพราะจะมีผลต่อ คุณภาพของสารออกฤทธิ์ในใบของผักคาวตองที่นำไปใช้เป็นยารักษาโรค อย่างไรก็ตามผลผลิตของผักคาวตอง ของเกษตรกรที่ผลิตได้ส่วนใหญ่ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำมาก จากการสำ รวจพื้นที่ปลูกผักคาวตองของเกษตรกร ก็ พบว่า แนวทางหนึ่งในการเพิ่มผลผลิตผักคาวตองให้มากขึ้นได้ ก็คือการใส่ปุ๋ยหมักให้แก่ผักคาวตองอย่าง เหมาะสม สำหรับการใส่ปุ๋ยในปัจจุบัน เกษตรกรก็ได้มีการใส่ปุ๋ยหมักให้แก่ผักคาวตองบ้าง แต่ก็ไม่ มากนักและปริมาณการใส่ก็มีความหลากหลาย ดังนั้นจึงได้ทำการศึกษาในครั้งนี้ขึ้น