การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบจากใบกระดังงาต่อการเปลี่ยนแปลงของผลึก แคลเซียมออกซาเลตที่เป็นพิษต่อร่างกายในฟิโลเดนดรอน

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

นภสร ชาลานุมาศ, ณัฎฐา สงวนพงษ์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

นิติ ไชยวงคต

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2561

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

คนส่วนใหญ่นิยมปลูกต้มไม้ประดับตกแต่งบ้าน ซึ่งต้นไม้บางชนิดเป็นพิษต่อร่างกาย ต้นฟิโลเดนดรอนเป็นไม้ประดับที่คนนิยมปลูกประดับตกแต่งบ้านเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะสวยงามแล้ว ยังปลูกง่ายอีกด้วย แต่ข้อเสียก็มากเช่นกัน ต้นฟิโลเดนดรอนมีแคลเซียมออกซาเลตซึ่งเป็นสารที่มีพิษ แม้ว่าจะมีผลเพียงเล็กน้อยต่อมนุษย์ แต่ก็อาจก่อให้เกิดการระคายเคือง มีรอยไหม้ และยังเป็นพิษต่อสัตว์เลี้ยงอีกด้วย

แคลเซียมออกซาเลตเกิดจากการรวมตัวของกรดออกซาลิกและแคลเซียมไฮดรอกไซด์ หรือบางชนิดมีอยู่ในต้มไม้เป็นส่วนใหญ่ ต้นไม้บางชนิดมีน้อย บางชนิดมีมาก และบางชนิดไม่มีเลย แคลเซียมออกซาเลตมีหลากหลายชนิด บางชนิดก่อให้เกิดโรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ บางชนิดก่อให้เกิดอาการคัน ระคายเคืองผิว นอกจากนี้ ลักษณะผลึกของแคลเซียมยังมีลักษณะที่แตกต่างกันอีด้วย

ใบกระดังงาไทย เป็นใบเดี่ยวสีเขียวอ่อน ออกแบบเรียงสลับในลักษณะห้อยลง ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบแหลมหรือมีติ่งแหลม โคนใบมนกลมหรือเบี้ยว ส่วนขอบใบเป็นคลื่น ใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนัง แก้อาการคันและใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ซึ่งการกลั้นปัสสาวะเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคนิ่วแคลเซียมออกซาเลต

ทางผู้จัดทำจึงต้องการศึกษาประสิทธิภาพของใบกระดังงาต่อผลึกแคลเซียมออกซาเลต โดยนำสารสกัดหยาบจากใบกระดังงาที่ความเข้มข้นที่ต่างกัน ใส่ในต้นฟิโลเดนดรอนแล้วส่องผลึกแคลเซียมออกซาเลตเมื่อเวลาผ่านไป 1 3 และ 5 วัน พบว่า ต้นที่ใส่สารสกัดหยาบจากใบกระดังงาที่มีความเข้มข้นมากสุด พบผลึกน้อยที่สุด และเมื่อเวลาผ่านไป ผลึกแคลเซียมออกซาเลตจะเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม