การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยในบ่อระบบปิดโดยใช้น้ำจากแหล่งน้ำไหลและแหล่งน้ำนิ่งส่งผลต่อชนิดปรสิตซึ่งทำให้เกิดโรคในปลา

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

สุธิรา สุริวงค์, กีรัตยา กิจชัยสกุลฤทธิ์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

อรทัย ล่ำสัน, ศศิกุล บุญเพ็ญ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ลพบุรี

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2562

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การศึกษาครั้งนี้เป็นการทดลองในห้องปฏิบัติการจำลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาจำนวนปรสิตจากการเลี้ยงปลาดุกในบ่อระบบปิดโดยใช้น้ำจากแหล่งน้ำไหลและแหล่งน้ำนิ่งที่มีผลต่อโรคของปลาดุก โดยเลี้ยงปลาดุกอายุ 1 เดือนจำนวน 100 ตัว ในน้ำสะอาดเป็นเวลา 2 สัปดาห์ เพื่อควบคุมการเกิดปรสิตบนตัวปลา นำน้ำจากแหล่งน้ำไหล 2 แห่งและแหล่งน้ำนิ่ง 2 แห่ง ปริมาตร 100 ลิตรมาใส่ในบ่อปูนซีเมนต์ขนาด 60 เซนติเมตร จำนวน 4 บ่อ จากนั้นนำปลาดุกที่เลี้ยงไว้ในน้ำสะอาดเป็นเวลา 2 สัปดาห์ มาเลี้ยงต่อในบ่อซีเมนต์สี่บ่อที่เตรียมน้ำจากแหล่งต่าง ๆ ไว้บ่อละ 25 ตัว โดยวัดค่าความเป็นกรดด่างของน้ำ ค่าออกซิเจนของน้ำ ค่าความกระด้างของน้ำ ก่อนนำปลาดุกลงไปเลี้ยงและหลังจากเลี้ยงปลาดุกทุกสัปดาห์ก่อนนำไปทดลอง เลี้ยงปลาดุก 4 สัปดาห์โดยไม่เปลี่ยนน้ำ เลือกตัวแทนสุ่มจากจำนวนประชากรปลาดุกจำนวนบ่อละ 2 ตัว มาทำการทดลองขูดเนื้อบริเวณผิวและครีบของปลาดุก นำเนื้อส่วนนั้นมาส่องกล้องจุลทรรศน์ ตรวจสอบหาปรสิต นับจำนวนของปรสิตและบันทึกผล ตรวจสอบชนิดของปรสิตและจำนวนที่มีผลต่อการเกิดโรคของปลา