การยืดอายุคะน้าด้วยสารสกัดไซโตไคนินจากเมล็ดข้าวโพดในรูปแบบผง
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
นางสาวพิยดา ธรรมดีกุล, ภคพร สถิตย์พงษ์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
จิราภา ยอดเพชร
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ประเทศไทย ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่เกษตรกรรมประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ทั้งหมด ในการทำการเกษตรเกี่ยวกับการปลูกผักมักจะประสบปัญหาในหลายๆ ด้าน เช่น ความไม่เหมาะสมของสถานที่ปลูก อายุความคงทนของผักหลังเก็บเกี่ยวแล้วอยู่ไม่ได้นาน และภัยจากธรรมชาติ เป็นต้น ผักเป็นพืชที่เปราะบาง และเกิดความเสียหายได้ง่าย เมื่อมีแมลง ศัตรูพืช โรคพืชต่างๆ มารบกวน จากปัญหาดังกล่าว การยืดอายุพืชผักสามารถทำได้ โดยใช้ข้าวโพด จากการศึกษาพบว่า เมล็ดข้าวโพดมีสาร [6-(4-hydroxy-3-methyl but-2-enyl)aminopurine] ชื่อซีเอตินเป็นไซโตไคนินธรรมชาติที่เป็นอนุพันธ์ของเบสอะดีนิน มีฤทธิ์ในการยับยั้งกระบวนการเสื่อมสภาพของดอกไม้ ทั้งกระบวนการสังเคราะห์เอทิลีน การทำงานของเอทิลีน มีผลชะลอการหายใจ การเสื่อมสภาพของคลอโรฟิลล์ และการสลายตัวของคลอโรฟิลล์ จากคุณสมบัติข้างต้นของไซโตไคนินนั้นสามารถนำมาแก้ปัญหาเกี่ยวกับการขนส่งผักของเกษตรกร โดยพืชผักนั้นมีการเสื่อมสลายของคลอโรฟิลล์ทำให้ผักมีสีเหลือง เหี่ยว และมีการหลุดร่วงของใบ ซึ่งมีผลกระทบต่อราคา และเพื่อให้สะดวกในการใช้งานจึงพัฒนาไปเป็นผงที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากเมล็ดข้าวโพด