การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์น้ำในแหล่งหญ้าทะเลบริเวณอ่าวปากคลอง อ.สิเกา จ.ตรัง

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

รชดา พลายด้วง, ปิยะรงค์ สนธิเศวต

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

พัชรา พงศ์มานะวุฒิ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2562

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

หญ้าทะเลถือเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ได้รับการยอมรับว่ามีความสำคัญ ในปัจจุบันหญ้าทะเล เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารอันอุดมสมบูรณ์ของสัตว์ทะเลและสัตว์เศรษฐกิจอันได้แก่ กุ้ง หอย ปู และ ปลา และที่สำคัญยังเป็นแหล่งอาหารให้แก่สัตว์ทะเลใกล้สูญพันธุ์ คือ เต่าทะเลบางชนิด และพะยูน โดยเฉพาะพะยูนที่มีอัตราการลดลงอย่างต่อเนื่อง อันเนื่องมาจากการลดลงของหญ้าทะเล ซึ่งเป็นระบบนิเวศแรกที่รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงต่างๆ บนแผ่นดินที่เกิดจากมนุษย์และเกิดตามธรรมชาติ ในปัจจุบัน น่านน้ำไทย พบหญ้าทะเลรวม 12 ชนิดพันธุ์ จากจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 58 ชนิด พันธุ์ที่พบทั่วโลก ในทะเลฝั่งอันดามันพบหญ้าทะเล 11 ชนิด ขาดเพียงชนิดเดียวคือหญ้าตะกานนาเค็ม (Ruppia maritima) ซึ่งพบเฉพาะทางฝั่งอ่าวไทยเท่านั้น และเก็บรวบรวมตัวอย่างสัตว์น้ำขนาดใหญ่ด้วยเครื่องมือ “ระวะ” โดยเก็บในเวลากลางวันขณะน้ำเริ่มขึ้นในช่วงน้ำเกิด ที่ระดับความลึกประมาณ 1 เมตร จำแนกสัตว์เป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มกุ้ง กลุ่มหอย กลุ่มปู และกลุ่มปลา ทางผู้วิจัยจึงสนใจที่จะสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพชนิดของหญ้าทะเลและสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศหญ้าทะเล ในบริเวณอ่าวปากคลอง อ.สิเกา จ.ตรัง