การศึกษาประสิทธิภาพของราเอนโดไฟต์ที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืชในสภาวะเครียด

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

วราพร จันทะเสริม, สิริ​กร​ วาลี​ประโคน​

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

โนรฮีดายะห์ กาโฮง

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2562

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

จากสถิติของกรมพัฒนาที่ดินในปี พ.ศ.2561 พบว่า ปัญหาที่ส่งผลต่อเกษตรกรที่พบได้มากที่สุด คือสภาวะดินเครียดจากการทำการเกษตรเป็นระยะเวลานาน ได้แก่ สภาวะดินเค็มรุนแรง ซึ่งมีค่าการนำไฟฟ้าสูงถึง 8-16 มิลลิซีเมนต่อเมตร และสภาวะดินปนเปื้อนสารไกลโฟเสตจากยาฆ่าหญ้าความเข้มข้น 40 มิลลิโมลต่อกิโลกรัม จัดเป็นการปนเปื้อนของดินในระยะอันตราย ส่งผลกระทบต่อพืชในบริเวณดังกล่าวให้มีการเจริญเติบโตลดลงทำให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลงไปด้วย คณะผู้จัดทำเล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าวจึงได้หาวิธีเพิ่มความทนทานของพืชและลดปัญหาดินเครียด พบว่ากรดอินโดลอะซิติกทำให้พืชมีการงอกของรากเพิ่มขึ้นและเพิ่มความเป็นกรดให้ดินที่อยู่ในสภาวะดินเค็ม

ดังนั้นคณะผู้จัดทำโครงงาน จึงหาวิธีสร้างสารอินโดลอะซิติกโดยไม่ใช้สารเคมี พบว่าราเอนโดไฟต์สามารถสร้างกรดชนิดนี้ได้ จึงนำมาคัดแยกและเลี้ยงรา แล้วแยกกรดอินโดลอะซิติกออกจากราเพื่อนำมาใช้ในการปลูกพืชและเปรียบเทียบการเจริญเติบโตกับพืชปกติ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ คือ สารอินโดลอะซิติกจากราเอนโดไฟท์ช่วยทำให้พืชสามารถเจริญเติบโตภายใต้สภาวะเครียดและลดปัญหาสภาวะเครียดของดินได้