การศึกษาฤทธิ์การยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย E.coli ดื้อยา เพื่อพัฒนาต้นเเบบยาต้านจุลชีพป้องกันโรค Colibacillosis เเละเสริมภูมิคุ้มกันในไก่เนื้อจากสารสกัดสมุนไพรฝางร่วมกับอิชิเนเชีย
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ปวริศา โพธิ์ทอง, ศุภาพิชญ์ เพชรไตรภพ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สุณิสา คงคาลัย
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การพัฒนาต้นเเบบยาต้านจุลชีพให้มีความสามารถในการยับยั้งเชื้อ E.coli ATCC 25922 ซึ่งเป็นแบคทีเรียดื้อยาปฏิชีวนะ น่าจะเป็นทางออกที่ดีอีกเเนวทางหนึ่งในการป้องกันการเกิดโรคโคไลบาซิลโลซิส(โรคติดเชื้ออี. โคไล) ซึ่งเป็นโรคที่พบได้บ่อยเเละก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่เนื้อ คือมีอัตราการตายสูงกว่าปกติ น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ อัตราการแลกเนื้อสูงและมีผลเสียต่อสภาพซากของไก่เนื้อ โดยจากการศึกษารายงานของวัชรินทร์ เเละคณะ(2559) เรื่องฤทธิ์ของสารสกัดสมุนไพร 10 ชนิดต่อการยับยั้งเชื้อเเบคทีเรีย พบว่า ฝาง มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อเเบคทีเรียเเกรมบวกเเละเเกรมลบรวมถึงเชื้อ E.coli ATCC 25922 ได้ดีที่สุด อย่างไรก็ตามการเสริมภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับไก่เนื้อก็เป็นทางเลือกหนึ่งในการเสริมคุณสมบัติของยาดังกล่าวได้ โดยสารฟลาโวนอยด์เเละฟีนอลอัลคาไมด์ จึงเป็นกลุ่มสารตัวเติมที่น่าสนใจ เเละจากการศึกษารายงานวิจัยของ Mohamed, et al.(2019) เรื่องผลกระทบของการเสริมอิชิเนเชียต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโตเเละภูมิคุ้มกันในไก่เนื้อที่ติดเชื้อ E. coli ซึ่งพบว่าสารสกัดอิชิเนเชียมีกลุ่มสารทั้งสองชนิดที่กล่าวไว้ก่อนหน้า เเละสามารถเสริมภูมิคุ้มกันให้กับไก่เนื้อได้ จึงมีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้เป็นสารตัวเติมเพื่อพัฒนาคุณสมบัติของยาต้านจุลชีพให้ดีมากยิ่งขึ้น จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นนี้ คณะผู้จัดทำจึงมีความสนใจที่จะพัฒนายาต้านจุลชีพ จากการศึกษาฤทธิ์การยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย E.coli ที่ดื้อยา เพื่อป้องกันโรคโคไลบาซิลโลซิสเเละเสริมภูมิคุ้มกันในไก่เนื้อจากสารสกัดสมุนไพรฝางร่วมกับสารสกัดอิชิเนเชีย ตลอดจนเป็นเเนวทางของผู้ประกอบการธุรกิจผลิตภัณ์สำหรับเวชภัณฑ์สัตว์ หรืออุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์เพื่อบริโภค นอกจากนี้แล้วยังเป็นการลดอัตราการเกิดซากสัตว์ที่ติดเชื้อซึ่งจะส่งผลให้เกิดการระบาดของโรคติดต่อในไก่เนื้อ