การศึกษาสัดส่วนขององค์ประกอบในดินที่มีผลต่อการเพาะปลูกทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

จิรัชญา เทพเกษตรกุล, เอกศุภปวีร์ ลับโกษา, ฟ้าพราว ศิริประไพ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

สิทธิศักดิ์ จินดาวงศ์, เจตนิพิฐ แท่นทอง

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2564

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ทุเรียนภูเขาไฟ เป็นผลไม้ที่มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น แต่เนื่องมาจากพื้นที่ที่จำกัดในการปลูกทุเรียนภูเขาไฟ ทางเราจึงสนใจในการศึกษาดินที่ใช้สำหรับการปลูกทุเรียนภูเขาไฟ โดยมีการเก็บดินตัวอย่างจากสวนทุเรียน 6 สวน ได้แก่ สวนมั่งมี สวนมณีวิภา สวนลุงคำมี สวนลุงเสริม สวนบุญส่ง และสวนวัชระ ซึ่งศึกษาทั้งทางกายภาพได้แก่ ค่าความหนาแน่นของอนุภาคดิน ค่าความหนาแน่นรวมของดิน ค่าความพรุน(%) และสีของดิน ทางเคมีได้แก่ การตรวจสอบค่า pH, N, P และ K และทางจุลชีววิทยาได้แก่ การศึกษาปริมาณเชื้อจุลินทรีย์รวมและ Nitrogen fixing bacteria จากนั้นนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกับดินในบริเวณที่ไม่ประสบความสำเร็จในการปลูกทุเรียนภูเขาไฟ รวมทั้งดินในบริเวณอำเภอเมืองศรีสะเกษ เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูล