กระถางเพาะชำจากเปลือกข้าวโพดและซังข้าวโพด
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ธวัลรัตน์ เกตุพงษ์พันธุ์, กัลยรัตน์ ชัยเพชร
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ปรียนันท์ ศรีสุวรรณ์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ข้าวโพดเป็นธัญพืชสำคัญอย่างหนึ่งนับเป็นพืชอาหารหลักที่ใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง ประชาชนรับประทานข้าวโพดเป็นอาหารประจำวัน ในรูปต่างๆ กัน นอกจากใช้เป็นอาหารมนุษย์ และสัตว์โดยตรงแล้ว เมล็ดข้าวโพดและส่วนอื่นๆ เช่น ต้น ใบ และซัง ยังใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมได้หลายชนิด ประเทศไทยมีการปลูกข้าวโพดมาช้านานแต่ปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพิ่งจะเริ่มปลูกกันอย่างจริงจัง เมื่อยี่สิบกว่าปีมานี้เอง และปริมาณการผลิตได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปี พ.ศ. ๒๔๗๒ ผลิตผลทั้ง ประเทศมีเพียง ๓.๗๓ ตัน แต่ในปี พ.ศ. ๒๕๒๖ เพิ่มขึ้นเป็น ๓.๘๘ ล้านตัน ข้าวโพดมีความจำเป็นต่อเกษตรไทยมายาวนาน ข้าวโพดเป็นพืชเศรษฐกิจและเป็นส่วนสำคัญในอุตสาหกรรมอาหารสที่มีความต้องการในการใช้ในปริมาณที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาวัสดุเหลือทิ้งจากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จำนวนมาก จนส่งผลกระทบทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม
ทางผู้จัดทำเล็งเห็นถึงปัญหา จึงได้มีการร่วมกันหาแนวทางเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการนำเปลือกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เหลือทิ้งมาแปรรูป ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการทำ”กระถางเพาะชำ”จากเปลือกข้าวโพดและซังข้าวโพด อีกทั้งยังศึกษาและทดลองอัตราส่วนและส่วนผสมที่เหมาะสมในการปลูกอีกด้วย