การตรวจสอบเพศของต้นอินทผลัมจากความแตกต่างทางพันธุกรรม ระหว่างเพศด้วยเทคนิค ISSR
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
นิพัท ตันติพุฒิกุล
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
อนุรุทธิ์ หมีดเส็น
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
อินทผลัม (date palm) มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Phoenix dactylifera L. เป็นไม้ผลยืนต้นใบเลี้ยงเดี่ยวที่มีอายุในการออกผลประมาณ70ปี จัดอยู่ในตระกูลปาล์ม (Arecaceae) ผลสุกมีรสชาติหวาน มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว นิยมบริโภคทั้งผลสดในระยะสุกแก่ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ และผลตากแห้งปัจจุบันเกษตรกรไทยได้หันมาเพาะปลูกอินทผลัมเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเป็นพืชเศรษฐกิจที่ให้ผลตอบแทนสูงต่อเกษตรกร อีกทั้งยังมีการส่งออกสู่ต่างประเทศ เป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจสำคัญที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศไทยในด้านผลผลิตทางการเกษตร
อินทผลัมเป็นพืชแยกเพศ โดยดอกจากต้นเพศเมียพัฒนาไปเป็นผลและเมล็ด ซึ่งอินทผลัมเป็นพืชที่ไม่สามารถระบุเพศในระยะต้นกล้าจากลักษณะทางสัณฐานวิทยาได้ แต่สามารถระบุเพศได้ชัดเจนในระยะออกดอก(ประมาณ 5-7 ปี ขึ้นอยู่กับพันธุ์) จากเหตุผลดังกล่าว ทำให้เกษตรกรต้องปลูกต้นกล้าอินทผลัมที่ไม่ทราบเพศจำนวนมาก ถือเป็นการจัดสรรพื้นที่อย่างไม่เหมาะสม และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการดูแลอย่างมหาศาล ทางกลุ่มผู้จัดทำได้เล็งเห็นถึงปัญหา จึงจัดทำโครงงานการตรวจสอบเพศของต้นอินทผลัมจากความแตกต่างทางพันธุกรรมระหว่างเพศด้วยเทคนิคISSR โดยต้นกล้าอินทผลัมที่เพาะจากเมล็ดจะผ่านการจำแนกเพศด้วยเครื่องหมายDNA ก่อนนำไปปลูก เพื่อแก้ปัญหาการปลูกต้นกล้าอินทผลัมอย่างไม่ทราบเพศให้แก่เกษตรกร อีกทั้งยังมีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย