การตรวจหาและวิเคราะห์ความเข้มข้นของฟอร์มาลีนด้วยสารสกัดจากใบผักหวาน

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ธณาวุฒิ ประมวลศิลป์, กมลวรรณ เดชาพร

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

กุสุมา เชาวลิต, ปิยดา เกิดด้วยทอง

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2562

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ปัจจุบันความต้องการทางอาหารทะเลเพิ่มขึ้นมากขึ้น ทำให้มีการทำประมงที่เยอะขึ้นมากกว่าสมัยก่อน เพิ่มให้ทันกับความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งมักนิยมรับประทานอาหารทะเลที่สดใหม่ อยู่ตลอดเวลา แต่การที่จะรักษาคงสภาพของอาหารให้สดอยู่ตลอดเวลาก็คงจะเป็นไปไม่ได้ จึงมีการนำสารเคมี สารพิษ หีรือสารสังเคราะห์ เพื่อนำไปปรับให้อาหารยังคงสภาพอยู่ซึ่งก็คือ ฟอร์มาลีน

ฟอร์มาลีน หรือ ฟอร์มัลดีไฮด์ เป็นสารสังเคราะห์เป็นสารประกอบอินทรีย์ กลุ่มอัลดีไฮด์ มีสูตรเคมี คือ CH2O หรือ HCHO ฟอร์มัลดีไฮด์ที่ความดันปกติจะมีสถานะเป็นก๊าซ ไม่มีสี มีกลิ่นฉุน ติดไฟได้ ก๊าซฟอร์มัลดีไฮด์เมื่อรวมตัวกับอากาศ และออกซิเจนสามารถเกิดการระเบิดได้ มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อ ซึ่งใช้ในการรักษาสภาพของศพ และมีการนำไปใช้กับการคงสภาพของอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาหารทะเล และยังส่งผลเสีย เช่น ถ้าได้รับสูงเกิน 0.1 ppm ทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อตา จมูกและทางเดินหายใจ แต่ถ้าได้รับปริมาณเข้มข้นสูงเกิน 100 ppm อาจทำให้หมดสติ และตายในที่สุด เนื่องจากที่ความเข้มข้นสูงๆ สารฟอร์มาลีนจะเปลี่ยนรูปเป็นกรดฟอร์มิค (Formic acid) ซึ่งมีฤทธิ์ทำลายระบบการทำงานของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย

ทางคณะผู้จัดทำจึงได้หาวิธีการที่จะสามารถตรวจจับและวิเคราะห์ความเข้มข้นของฟอร์มาลีน โดยใช้พืชที่สามารถพบเห็นได้บ่อยและง่ายในบริเวณท้องถิ่นอย่างใบมะยมโดยนำไปสกัดด้วยตัวทำละลายคือ เอทานอล น้ำกลั่นและเฮกเซน โดยนำมาตรวจวัดหาค่าการดูดกลืนแสงของสาระลายเพื่อที่จะนำไปวิเคราะห์ความเข้มข้นของฟอร์มาลีนในระดับความเข้มข้นที่ต่างกันแล้วนำไปบันทึกเป็นกราฟเพื่อแสดงผลของการวิเคราะห์ระหว่างความเข้มข้นและค่าการดุดกลืนแสงของฟอร์มาลีน แล้วนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตจริงเพื่อใช้ในการตรวจจับและวิเคราะห์ความเข้มข้นของฟอร์มาลีนที่ตกค้างในอาหาร

ได้ต่อไป