การทำลายระยะพักตัวของเมล็ดปาล์มน้ำมัน โดยใช้สารละลายอีทีฟอนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการงอก
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
แพรวพรรณ กำมะณี, นิพพิชฌน์ ฤทธิ์เลิศวิริยะ, อติชาต แสนศรี
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ชุมพล ชารีแสน, ภาคภูมิ เนียมบุญ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ในต้นปีพ.ศ.2565 ผลผลิตที่ได้จากปาล์มน้ำมันลดลงซึ่งส่งผลทําให้ราคาน้ำมันปาล์มราคาสูงขึ้น เนื่องจากปัญหานี้เราจึงต้องเพิ่มปริมาณต้นปาล์มน้ำมันเพื่อทําให้ผลผลิตจากต้นปาล์มน้ำมันมากขึ้น แต่การที่จะเพิ่มปริมาณต้นปาล์มเป็นไปได้ยากเนื่องจากต้นปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่เปลือกหุ้มเมล็ดหนา ระยะพักตัวนาน จึงทำให้งอกออกจากเมล็ดได้ยาก สําหรับการงอกเมล็ดปาล์มในธรรมชาติงอกได้ช้าโดยเมล็ดจะงอกได้เพียง 50% หลังจากการเพาะไปแล้ว 5-6 เดือน ดังนั้นการทําลายระยะพักตัวของเมล็ดเพื่อทําให้เมล็ดงอก สามารถทําได้โดยการใช้ฮอร์โมนเอทิลินเข้าช่วยในการเร่งการงอก ทั้งนี้ระยะเวลาในการงอกจะขึ้นอยู่กับขนาดเมล็ดและความหนาของกะลา อย่างไรก็ตามอัตราการงอกของปาล์มน้ำมันน้อยมาก เมื่อเทียบกับพืชอื่น จากปัญหาดังกล่าวที่กล่าวมาข้างต้นทีมผู้พัฒนาจึงสนใจที่จะศึกษาฮอร์โมนเอทิลินที่ช่วยในการเร่งการงอกต้นอ่อนของเมล็ดปาล์มน้ำมันโดยเราจะใช้คิดเป็นอัตราส่วนความเข้มข้นของอีทีฟอนเทียบกับระยะเวลาในการงอกของเมล็ดปาล์มน้ำมันและปริมาณเมล็ดปาล์มน้ำมันที่งอกได้ ในการศึกษาอัตราความเข้มข้นของอีทิฟอนที่ส่งผลต่อการงอกของเมล็ดปาล์มน้ำมัน ทางเราจึงจะเปรียบเทียบปริมาณความเข้มข้นของอีทิฟอนที่ต่างกันเมื่อใช้แช่เมล็ดปาล์มเทียบกับระยะเวลาการของของเมล็ดปาล์มน้ำมันและปริมาณเมล็ดปาล์มน้ำมันที่งอกได้ เพื่อหาความเข้มข้นของอีทีฟอนที่พอเหมาะแก่เมล็ดปาล์มน้ำมัน โครงงานนี้สร้างขึ้นเพื่อศึกษาผลของฮอร์โมนเอทิลินที่ส่งผลต่อการงอกของเมล็ดปาล์มน้ำมัน เพื่อนําไปประยุกต์ใช้เพิ่มผลผลิตทางการเกษตร