การศึกษาพฤติกรรมของหนอนแว็กซ์ต่อพลาสติกชนิดพอลิเอไมด์/ไนลอน
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ชโยดม ขุมเงิน
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
รุ่งอรุณ ศรีสุธรรม
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
หนอนแว็กซ์ (Wax Worm) มีความสามารถในการกัดกินและทำลายผลิตภัณฑ์จากผึ้งเช่น ไขผึ้ง(Bee wax) รังผึ้ง (Bee hive) น้ำผึ้ง (Honey) ได้เป็นอย่างดีทำให้หนอนแว้กซ์สามารถกัดกินและย่อยสลายพลาสติกชนิดโพลิเอทิลีน (Polyethylene/PE) ความหนาแน่นต่ำ (LDPE) ได้เนื่องจากพลาสติกชนิดโพลิเอทิลีนมีโครงสร้างทางพันธะเคมีคล้ายรังผึ้งเป็นส่วนมาก หนอนแว็กซ์จึงสามารถกัดกินและย่อยสลายพลาสติกชนิดโพลิเอไมด์ (Polyamide) ระดับความหนาแน่นต่ำ (LDPE) ที่เป็นพลาสติกประเภทเดียวกันได้ การวิจัยในครั้งนี้จึงมีจุดประสงค์ที่จะศึกษา 1) ชีววิทยาด้านพฤติกรรมของหนอนแว็กซ์ต่อพลาสติกชนิดโพลิเอไมด์ความหนาแน่นต่ำ 2) ปริมาณในการกัดกินและย่อยสลายพลาสติกชนิดโพลิเอไมด์ความหนาแน่นต่ำของหนอนแว็กซ์ การวิจัยครั้งนี้จะทำการทดลองโดยการเพาะเลี้ยงหนอนแว็กซ์ในห้องปฏิบัติการเริ่มจากการศึกษาชีววิทยาด้านพฤติกรรมของหนอนแว็กซ์ต่อพลาสติกชนิดโพลิเอไมด์ จากนั้นนำข้อมูลของหนอนแว็กซ์มาวิเคราะห์ ทำการทดลองหาปริมาณในการกัดกินและย่อยสลายพลาสติกชนิดโพลิเอไมด์ของหนอนแว็กซ์โดยการเปรียบเทียบช่วงเวลากับปริมาณพลาสติกชนิดโพลิเอไมด์ที่ถูกหนอนแว็กซ์กัดกินและย่อยสลายไป จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์เป็นค่าสถิติและนำข้อมูลจากการทดลองมาสรุปเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน