การศึกษาผลของเบต้ากลูแคนและเห็ดนางฟ้าต่อ การเจริญเติบโต การรอดตาย ปริมาณโปรตีน และภูมิคุ้มกันของกุ้งฝอย
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ปิยะธิดา อินทะนัย, เกษศรินทร์ แก้วสมุทร์, กมลชนก บุญศรี
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
เจตนิพิฐ แท่นทอง, สิทธิศักดิ์ จินดาวงศ์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของเบต้ากลูแคนจากอาหารเสริมและเห็ดนางฟ้า ต่อการเจริญเติบโต การรอดตาย และระบบภูมิคุ้มกันของกุ้งฝอย จึงได้ทำการทดลองเลี้ยงกุ้งฝอยเป็นระยะเวลา 5 สัปดาห์ โดยให้สารเบต้ากลูแคนผสมในอาหารเลี้ยงกุ้ง ซึ่งให้ปริมาณอาหารรวมเป็น 10% ของน้ำหนักตัว โดยแบ่งชุดการทดลองในแต่ละตอนออกเป็น 4 ชุด ชุดการทดลองละ 3 ซ้ำ ซึ่งชุดที่ 1 ในแต่ละตอนนั้นจะเป็นชุดการทดลองควบคุมที่ได้รับอาหารเลี้ยงกุ้งปกติ คือให้ไข่แดงสุกผสมรำอ่อน (Negative control) ในอัตราส่วน3:1ให้ได้ปริมาณอาหารรวม คือ 10% ของน้ำหนักตัวที่ชั่งได้ในแต่ละสัปดาห์ ได้แก่
ตอนที่ 1 ได้แก่ ชุดที่ได้รับเบต้ากลูแคนจากอาหารเสริมต่ออาหารเลี้ยงกุ้ง 0.3g : 1kg ,0.5g : 1kg ,0.8g :1 kg ตามลำดับ โดยให้ปริมาณอาหารรวมเบต้ากลูแคน เท่ากับ10% น้ำหนักตัวรวมที่ชั่งได้ในแต่ละสัปดาห์
ตอนที่ 2 ได้แก่ ชุดที่ได้รับเห็ดนางฟ้าต่ออาหารเลี้ยงกุ้ง 1:3 , 2:2 , 3:1 ตามลำดับ โดยให้ปริมาณอาหารรวมกับเห็ดนางฟ้าเท่ากับ10%ของน้ำหนักตัวรวมที่ชั่งได้ในแต่ละสัปดาห์
ตอนที่ 3 ทำการควบคุมปริมาณอาหารปกติ(Negative control) ให้เป็น10% ของน้ำหนักตัวรวมที่ชั่งได้ในแต่ละสัปดาห์ ได้แก่ ชุดที่ได้รับเห็ดนางฟ้าเป็น25%ของอาหารปกติ 50%ของอาหารปกติ 75%ของอาหารปกติ โดยในแต่ละชุดการทดลองได้ควบคุมวัยกุ้งฝอยและจำนวนกุ้ง คือ 2 เดือน,30ตัว ตามลำดับ ซึ่งจะทำให้มีน้ำหนักเฉลี่ยอยู่ที่ 6-7 กรัม เลี้ยงในตู้ 6 ลิตร ให้อาหาร 1 ครั้งต่อวันในเวลาประมาณ 12.30 น. นำมาตรวจวัดวิเคราะห์ผล1ครั้งต่อสัปดาห์ โดยวิเคราะห์จากการชั่งน้ำหนัก วิเคราะห์โปรตีน วัดอัตราการรอดตายและประเมินระดับภูมิคุ้มกัน โดยเจาะเลือดกุ้งและนำเลือดที่ได้ไปวิเคราะห์ปริมาณเม็ดเลือดรวม (Total haemocyte count)
จากการทดลองเลี้ยงกุ้งฝอยเป็นระยะเวลา 5 สัปดาห์ พบว่าการให้เบต้ากลูแคนจากอาหารเสริม 98.63% ในอัตราส่วน 0.5g:1kg การให้เห็ดนางฟ้าต่ออาหาร 2:2 และการให้เห็ดนางฟ้าต่ออาหาร 3:อาหาร10% ส่งผลให้มีเฉลี่ยน้ำหนักต่อตู้เพิ่มขึ้นจากแรกเริ่ม 185.316%, 114.24%,118.10% ตามลำดับ มีปริมาณโปรตีนคือ 1.093mg,0.636mg, 0.614mg ตามลำดับ เมื่อพิจารณาอัตราการรอดตายพบว่ามีค่าเฉลี่ย 4 สัปดาห์ 100%, 98.25%,98.30% ตามลำดับ มีปริมาณเม็ดเลือดเพิ่มขึ้น19.04%, 11.66% , 12.89% ตามลำดับ และจากผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย ANOVA พบว่า สูตรอาหารที่แตกต่างกันทำให้ผลต่างของน้ำหนักเปียก อัตราการรอด ปริมาณโปรตีน ปริมาณเม็ดเลือด ของกุ้งฝอยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05ส่งผลให้สามารถกำจัดเชื้อโรคได้มากขึ้นซึ่งสูงกว่าชุดการทดลองควบคุม ทำให้สามารถเพิ่มการเจริญเติบโต การรอดตาย และระบบภูมิคุ้มกันของกุ้งฝอยได้ดีที่สุด