การเปรียบเทียบประสิทธิภาพเชิงกลระหว่างพลาสติกเคซีนเสริมแรงด้วยเซลลูโลสและพลาสติกเคซีนเสริมแรงด้วยกลีเซอรอล

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

อาทิตย์ บุญแสวง, วิธวินท์​ บัวสด

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ปรียนันท์ ศรีสุวรรณ์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2563

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพเชิงกลระหว่างพลาสติกชีวภาพจากเคซีนในน้ำนมที่ผสมด้วย Sodium Carboxymethyl Cellulose (CMC) กับ พลาสติกชีวภาพจากเคซีนในน้ำนมที่ผสมด้วย กลีเซอรอล (Glycerol) โดยทำการเติมกรดแอซีติก (CH3COOH ) 5% ลงในน้ำนม เพื่อให้เกิดการตกตะกอนของโปรตีนเคซีนก่อนนำไปกรองแยกโปรตีนด้วยผ้าขาวบาง คอมโพสิตด้วยอัตราส่วนระหว่าง เคซีน : Sodium Carboxymethyl Cellulose (CMC) = 80:20 อัตราส่วนระหว่าง เคซีน : กลีเซอรอล = 80:20 เช่นเดียวกัน ทำการตรวจสอบความเข้ากันของพลาสติกด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง อบเพื่อกำจัดน้ำออกจากพลาสติกที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส ทำการทดสอบค่าการสูญเสียน้ำหนักต่ออุณหภูมิด้วยเทคนิคเทอร์โมกราวิเมตริกแอนาไลซิส (TGA) ทดสอบค่าทนต่อแรงสูงสุดและค่าร้อยละการยืด ณ จุดขาด ด้วยเครื่องทดสอบแรงดึงอเนกประสงค์ แล้วจึงนำมาเปรียบเทียบกันโดยมีพลาสติกเคซีนที่ไม่ผสมสารอื่นเป็นชุดความคุม เพื่อให้สามารถต่อยอดใช้พลาสติกชีวภาพจากเคซีนในน้ำนมนี้ทดแทนพลาสติกบางประเภทที่ย่อยสลายยากในอนาคต