การศึกษาฤทธิ์ต้าน Candida albicans และความเป็นพิษต่อเซลล์เยื่อบุช่องปาก ของสารสกัดจากใบขลู่ผสมใบมะม่วงหิมพานต์สำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปาก
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
นิฮุซนา มูซอ, ฮัมดียะห์ จาเงาะ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
อุดมลักษณ์ มาตย์สถิตย์, ธัญญรัศม์ อุทัยพันธ์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
วัตถุประสงค์: เพื่อวิเคราะห์ปริมาณฟีนอลิกรวมของสารสกัดเอทานอลของใบมะม่วงหิมพานต์ (Anacardium occidentale)และใบขลู่ Pluchea indica Less. ทดสอบฤทธิ์ต้านแคนดิดา อัลบิแคนส์ของสารสกัดเอทานอลของใบมะม่วงหิมพานต์ (Anacardium occidentale) เปรียบเทียบกับยามาตรฐาน fluconazole
กระบวนการทดลอง: สกัดสารสกัดเอทานอลของใบมะม่วงหิมพานต์และใบขลู่ ด้วย95%เอทานอล วิเคราะห์ปริมาณฟีลอนิกทั้งหมดด้วยวิธีโฟลินซิโอแคลตู (Folin Ciocalteau) และทดสอบประสิทธิภาพการต้านแคนดิดา อัลบิแคนส์ สายพันธุ์ ATCC10230 ของสารสกัดเอทานอลของใบมะม่วงหิมพานต์ และยามาตรฐาน fluconazole ที่ความเข้มข้นตั้งแต่ 15.625 ถึง 250 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร โดยวิธีดิสดิฟฟิวชั่น (disc diffusion method) ติดตามผลที่ 24 และ 48 ชั่วโมง
ผลการทดลอง: สารสกัดหยาบเอทานอลจากใบขลู่มีปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดเท่ากับ 125.43±9.60 มิลลิกรัมสมมูลของกรดแกลลิกต่อกรัมของสารสกัดหยาบ และสารสกัดหยาบเอทานอลใบมะม่วงหิมพานต์มีปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดเท่ากับ 367.31±18.96 มิลลิกรัมสมมูลของกรดแกลลิกต่อกรัมของสารสกัดหยาบ เมื่อนำมาทดสอบประสิทธิภาพการต้านเชื้อแคนดิดา อัลบิแคนส์ พบว่าสารสกัดหยาบเอทานอลใบมะม่วงหิมพานต์ความเข้มข้น 62.5 ถึง 250 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของแคนดิดา อัลบิแคนส์ โดยมีค่าเฉลี่ยบริเวณยับยั้ง (inhibition zone) เท่ากับ 6.3+0.0 ถึง 10+0.06 มิลลิเมตรที่ 24 ชั่วโมง และ 7.5+1.2 ถึง 11+1.2 มิลลิเมตรที่ 48 ชั่วโมงตามลำดับ ในขณะที่ยามาตรฐาน fluconazole มีค่าเฉลี่ยบริเวณยับยั้งเท่ากับ13.30+0.87ถึง 29.9+5.92 มิลลิเมตรที่ 24 ชั่วโมง และ 8.8+1.4 ถึง 22.8+0.9 มิลลิเมตรที่ 48 ชั่วโมงตามลำดับ พบว่าสารสกัดเอทานอลจากใบมะม่วงหิมพานต์ มีค่าความเข้มข้นต่ำสุดของสารสกัดที่สามารถยับยั้งเชื้อได้ที่ 62.5 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ในขณะที่ยามาตรฐาน fluconazole สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ C. albicans ความเข้มข้นต่ำสุด 15.625 ไมโครกรัมกรัมต่อมิลลิลิตร
การวิเคราะห์ผล: เมื่อเปรียบเทียบฤทธิ์ยับยั้งแคนดิดา อัลบิแคนส์ ของสารสกัดหยาบเอทานอลใบมะม่วงหิมพานต์พบว่ามีความสอดคล้องผลงานวิจัยของ Chabi SK et al. (2014) ที่ศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดของใบมะม่วงหิมพานต์ที่สกัดด้วยเอทานอลพบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งแคนดิดา อัลบิแคนส์ โดยมีค่าเฉลี่ยบริเวณยับยั้งเท่ากับ 17 มิลลิเมตร และมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถฆ่าเชื้อได้ (MBC) อยู่ 0.033 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร และปริมาณฟีนอลิกรวมในสารสกัดเอทานอลจากใบมะม่วงหิมพานต์มีความสอดคล้องกับงานวิจัยของ ลลิตา โชติพฤฒิพงศ์ (2559) ศึกษาปริมาณสารฟิลนอลิกในสารสกัดหยาบใบมะม่วงหิมมพานต์ที่ใช้เอทานอลเข้มข้นร้อยละ 80 เป็นตัวทำละลาย พบว่ามีปริมาณฟินอลิกทั้งหมดอยู่ที่ 564.60 มิลลิกรัมสมมูลของกรดแกลลิกต่อกรัมของสารสกัดแห้ง และ สอดคล้องกับงานวิจัยของ Junsathian (2018) ที่พบปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดอยู่ที่ 356.82±17.94 มิลลิกรัมสมมูลของกรดแกลลิกต่อกรัมของสารสกัดหยาบ
สรุปผล: สารสกัดเอทานอลจากใบขลู่มีปริมาณฟินอลิกทั้งหมดเท่ากับ 125.43±9.60 มิลลิกรัมสมมูลแกลลิกต่อกรัมสารสกัด ปริมาณฟินอลิกทั้งหมดในใบมะม่วงหิมพานต์เท่ากับ 367.31±18.96 มิลลิกรัมสมมูลแกลลิกต่อกรัมสารสกัด พบว่าสารสกัดหยาบจากใบมะม่วงหิมพานต์มีปริมาณฟีนอลลิกรวมสูงกว่าสารสกัดหยาบใบขลู่ประมาณ 3 เท่าสารสกัดเอทานอลจากใบมะม่วงหิมพานต์สามารถยับยั้งสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ C. albicans ที่ความเข้มข้นต่ำสุด 31.25 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ในขณะที่ยามาตรฐาน fluconazole สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ C. albicans ความเข้มข้นต่ำสุด 15.625 ไมโครกรัมกรัมต่อมิลลิลิตร
สรุปได้ว่าสารสกัดเอทานอลใบมะม่วงหิมพานต์มีฤทธิ์ยับยั้ง C. albicans ได้แต่มีประสิทธิภาพยับยั้งน้อยกว่า ยามาตรฐาน Fluconazole
คำสำคัญ Candida albicans ,Pluchea indica Less , Anacardium occidentale ,ฟีนอลิก