เครื่องล้างหอยแครงอัตโนมัติด้วยน้ำเดียว
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ปานดวงใจ ชินสงคราม, อนุธิดา จักร์สาน, ฐิติพรรณ ทองเสนา
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
เรืองริน สินธุระวิทย์, มาลิณี แก้วเกิดมี
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
จากการศึกษาลักษณะของหอยแครงและวิธีการล้างหอยแครง ซึ่งเป็นสัตว์เศรษฐกิจอีกประเภทหนึ่งของประเทศไทย พบว่าหอยแครงมีถิ่นที่อาศัยอยู่ในโคลนและลักษณะทางกายภาพของเปลือกหอยแครงค่อนข้างกลม หนา แข็ง จึงทำให้อยากต่อการทำความสะอาดเพราะบริเวณภายในและภายนอกตัวหอยแครงนั้นเต็มไปด้วยเศษโคลนดิน ซึ่งส่งผลให้การทำความสะอาดมีความจำเป็นต้องล้างหลายรอบ ใช้น้ำปริมาณมากและสิ้นเปลืองเวลาในการล้างหอยแครงให้สะอาด เพื่อให้เศษโคลนดินที่ติดอยู่กับหอยแครงหลุดออกจนสามารถนำมาประกอบอาหารได้ อีกทั้งในการล้างหอยแครงด้วยมือยังเสี่ยงต่อการโดนเปลือกหอยแครงบาดทางคณะผู้จัดทำจึงได้เล็งเห็นปัญหาข้างต้นนี้ และจัดทำโครงงานเครื่องล้างหอยแครงอัตโนมัติด้วยน้ำเดียวขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1 เพื่อสร้างเครื่องล้างหอยแครงอัตโนมัติด้วยน้ำเดียวที่ควบคุมการทำงานด้วยบอร์ด Arduino 2 เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องล้างหอยแครงอัตโนมัติด้วยน้ำเดียว โดยมีเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงานของเครื่องล้างหอยแครงอัตโนมัติด้วยน้ำเดียวให้สามารถทำงานตามฟังก์ชันที่กำหนดไว้คือ การหอยแครง 1 กิโลกรัมใช้เวลาในการล้าง 5 นาทีต่อการล้าง 1 ครั้ง มีระบบกรองน้ำให้สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ในการล้างครั้งถัดไป มีระบบแจ้งเตือนหากน้ำเริ่มขุ่นโดยจะมีหลอดไฟ LED สีแดงกระพริบและมีเสียงแจ้งเตือนเพื่อให้ผู้ใช้มาทำการเปลี่ยนน้ำและล้างไส้กรองก่อนการล้างหอยแครงในครั้งถัดไป
ผลปรากฏว่าเครื่องล้างหอยแครงอัตโนมัติด้วยน้ำเดียวสามารถล้างหอยแครงได้ตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ ด้วยการใช้ระยะเวลาในการล้างหอยแครง 5 นาที ต่อหอยแครง 1 กิโลกรัม มีหลอดไฟ LED สีแดง และลำโพง Buzzer ที่เป็นสัญญาณแจ้งเตือนปริมาณความขุ่นของน้ำโดยหลอดไฟสีแดงจะกระพิบ ลำโพง Buzzer จะส่งเสียงแจ้งเตือนไปยังผู้ใช้เมื่อเซ็นเซอร์ตรวจพบว่าน้ำขุ่นเกินกว่าค่าที่กำหนดไว้ นอกจากนั้นยังสามารถนำน้ำที่ล้างหองแครงแล้ว กลับมาล้างใหม่เป็นระบบหมุนเวียนน้ำ ซึ่งการเติมน้ำ 1 ครั้งสามารถล้างหองแครงได้ทั้งหมด 23 กิโลกรัม มีไส้กรองน้ำ ที่เป็นเสมือนเครื่องกรองน้ำ ทำหน้าที่กรองสิ่งสกปรกเพื่อให้คุณภาพน้ำดีขึ้น จึงช่วยยืดระยะเวลาในการเปลี่ยนถ่ายน้ำได้เพื่อเป็นการลดปริมาณน้ำที่ใช้ในการล้างหอยแครงได้เป็นอย่างดี